กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม ร่วมใจรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษในเกษตรกร หมู่5 เทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

อสม.รพ.สต.บ้านปากคลอง

1.นางสาวธีรวรรณ สนู 0636148629
2.นางจำปี วรรณะ
3.นางสุภา นิลวงค์
4.นางอาภรณ์ นวลมะโน
5.นางวิไล หนูแก้ว

หมู่ที่5 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

50.00

อันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในปัจจุบัน เนื่องจากเกษตรกรส่วน ใหญ่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้น ยังสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นทางการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้ง กระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งเกษตรกรผู้ฉีดพ่นนั้นจะได้รับพิษโดยตรง แต่สำหรับผู้บริโภคจะได้รับพิษทางอ้อมจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างปนเปื้อนอยู่ แม้ได้รับในปริมาณต่ำ แต่การที่ได้รับเป็นประจำ สารเคมีเหล่านั้นจะสะสมในระบบต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องร้อยละ 90

50.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เจาะหาสารเคมีตกค้างในเลือด

เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เจาะหาสารเคมีตกค้างในเลือดอย่างน้อยร้อยละ 30

10.00 50.00
3 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดลดลง ร้อยละ 90

50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านปากคลอง,อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.มะกอกเหนือ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านปากคลอง,อสม.และผู้ใหญ่บ้าน ม.5 ต.มะกอกเหนือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้ารพ.สต.บ้านปากคลอง ผู้นำชุมชน และอสม.ในเขตพื้นเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน ค้นหากลุ่มเป้าหมายจากประชาชนในพื้นที่ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เช่น ครัวเรือนที่ใช้ยาฆ่าหญ้า ในรายที่ทำนา ทำสวน เป็นต้น

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คณะทำงานเข้าใจโครงการตรงกัน

  • มีกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ในพื้นที่ร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการอสม.รณรงค์คัดกรองหาสารเคมีในเกษตรกร หมู่ที่ 5 เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2567 เพื่อทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายและรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ไม่มีงบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมความรอบรู้สารเคมีในเกษตรกร และตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมความรอบรู้สารเคมีในเกษตรกร และตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มี 3 กิจกรรม ในการดำเนินการ

ช่วงที่ 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการใช้สารเคมี การลดการใช้สารเคมี โทษของสารเคมี การปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น

ช่วงที่ 2. รณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ช่วงที่ 3.เชิญเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ครั้งที่1 และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง จะแจ้งผลการตรวจกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ผู้ที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะจ่ายสมุนไพรรางจืด เป็นเวลา 10 วัน และติดตามผลเลือดอีก 2 วัน หลังจากรับประทานรางจืด ส่วนผู้ที่มีผลเลือด อยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงจะติดตามผลเลือดอีก 1 เดือน

งบประมาณ

-ค่าวิทยากรให้ความรู้ 3 ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 65 คนๆละ 25 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน(สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 65 คนๆละ 50 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท

-ค่าเอกสารการทดสอบความรู้-ความเข้าใจ การใช้สารเคมีก่อนและหลังเข้าร่วมอบรมชุดละ 1 บาท จำนวน 120 ชุด เป็นเงิน 120 บาท

-ค่าเอกสารการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม ชุดละ 1 บาท จำนวน 60 ชุด เป็นเงิน 60 บาท

-ไวนิลโครงการ ขนาด 1.2*3 ม. ตารางเมตรละ 180 บาท เป็นเงิน 648 บาท

-เมล็ดพันธ์พืช-เมล็ดคะน้า 40 กระป๋อง เมล็ดกวางตุ้ง 40 กระป๋อง เมล็ดผักกาดขาว 40 กระป๋อง ราคากระป๋องละ 40 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

  • ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ บรรจุถุงละ 5 กิโลกรัม ราคาถุงละ 30 บาทจำนวน 80 ถุง เป็นเงิน 2,400 บาท

-ชุดตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท (1ชุด ประกอบด้วย กระดาษโคลีนเอสเตอเรส,สำลีชุบแอลกอฮอสำหรับฆ่าเชื้คโรค,Blood Lancet,Micro Haematocrit tube ,Side ขนาด2.5ป7.5 ซม.Forceps,Pipette Tip with Dropper Bulb.ถาดดินน้ำมัน,Rack พลาสติกใสขนาด 6x8.5x4.5 ซม.)

รวมงบประมาณ 22,328 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2567 ถึง 29 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกษตรกรมีความรู้เรื่องสารเคมีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

-กลุ่มเป้าหมายได้บริโภคผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

-เกษตรกรได้รับการตรวจสารพิษตกค้างในเลือด อย่างน้อยร้อยละ30

-เกษตรกรที่มีผลสารพิษตกค้างในเลือดอยู่ในเกณฑ์ไม่ปลอดภัย จะได้รับการรักษาและติดตามร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22328.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย จากการตรวจครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย จากการตรวจครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัย จากการตรวจครั้งที่แล้ว เพื่อติดตามหลังการให้คำแนะนำ และหลังรับประทานรางจืดจนครบ 10 วัน ในกรณีที่มีผลเลือดยังไม่ปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง จะให้สมุนไพรรางจืด รับประทานต่ออีก 5 วัน พร้อมนัดติดตามผลอีกครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 เมษายน 2567 ถึง 11 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดลดลงร้อยละ 90

ไม่มีงบประมาณ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือด มีความเสี่ยง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือด มีความเสี่ยง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากคลอง ตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดแก่เกษตรกรที่มีผลเลือด มีความเสี่ยง จากการตรวจครั้งที่แล้ว เพื่อติดตามหลังการให้คำแนะนำ รวมถึงติดตามหลังจากที่ปลูกผักไว้รับประทานเองผลเลือดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2567 ถึง 29 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดจากมีความเสี่ยงลดลงร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 อสม.ลงเยี่ยม ติดตาม เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
อสม.ลงเยี่ยม ติดตาม เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ลงเยี่ยม ติดตาม เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อพูดคุยให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ

-เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมคณะทำงานสรุปโครงการและถอดบทเรียนการทำงาน

-ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม ค่าวัสดุอุปกรณเป็นเงิน 200 บาท

งบประมาณ

200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจประโยชน์ และโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถปฎิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อจำเป็นต้องใช้สารเคมี

-เกษตรกรไม่มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,528.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และบริโภคผักปลอดสารพิษ


>