กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตำบลสมหวัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 2567 - L3309 - 1 - 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงหรา
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2567 - 20 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทธิพงค์ รักษ์พันธ์ สาธารณสุขอำเภอกงหรา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
50.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
20.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
20.00
4 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า
10.00
5 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)
150.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
120.00
7 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ
200.00
8 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
10.00
9 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น
50.00
10 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
350.00
11 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกาย และจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีแนว โน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2566 พบว่าจังหวัดพัทลุงมีผู้สูงอายุจำนวน 96,916 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 390,496 คนคิดเป็นร้อยละ24.78 ซึ่งเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aging Society)และตำบลสมหวัง มีผุ้สูงอายุจำนวน 1,136 คน จากประชากรทั้งหมด 3,817 คน คิดเป็นร้อยละ 29.76 และจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ยังไงก็ตามจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ ได้นำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ทำให้มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเอง จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพให้รองรับและสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence)2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงาน การส่งเสริม ป้องกัน และสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติอำเภอกงหราจึงได้จัดดำเนินโครงการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประจำปี 2564 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในวัยสูงอายุมีความรู้ ตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองและครอบครัว อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งบุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุโดยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

20.00 25.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

50.00 30.00
3 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

20.00 25.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

150.00 135.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

30.00 50.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

50.00 40.00
7 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

10.00 20.00
8 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

350.00 500.00
9 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

120.00 200.00
10 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

200.00 250.00
11 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

10.00 7.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,700.00 0 0.00
13 พ.ย. 66 - 30 ส.ค. 67 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Geraitric syndrom 0 0.00 -
14 ม.ค. 67 - 23 ส.ค. 67 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ 0 0.00 -
11 มี.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้สูงอายุ 0 13,700.00 -
25 มี.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำผู้สูงอายุ ในการเขียนแผนดูแลสุขภาพตัวเอง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบการดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเข้มแข็งมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 .ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้รับการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2567 00:00 น.