กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจอเบาะจัดการขยะ ปลอดโรค ลดโลกร้อน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2496-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลจอเบาะ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีละห์ มะนุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 17,320.00
รวมงบประมาณ 17,320.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยซึ่งปัจจุบันสามารถแบ่งตามองค์ประกอบหลักได้ ๔ ส่วน คือ ขยะย่อยสลายได้ร้อยละ ๖๔, ขยะรีไซเคิลร้อยละ ๓๐, ของเสียอันตรายร้อยละ ๓ และขยะอื่นๆ ร้อยละ ๓ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๒๒ (๓) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๑๘) ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ในการกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ ๓Rs (ใช้น้อย, ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน
  แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าว รวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ เกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลจอเบาะ จึงได้จัดทำโครงการจอเบาะจัดการขยะ ปลอดโรค ลดโลกร้อน ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. ประชาชนได้รับความรู้ รู้จักวิธีการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะที่ถูกต้อง

๑. ประชาชนได้รับความรู้ รู้จักวิธีการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะที่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๐

100.00
2 ๒. จำนวนประชาชนมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

๒. จำนวนประชาชนมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ร้อยละ ๗๐

3 ๓. ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตต่อวันลดลง

๓. ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตต่อวันลดลง ร้อยละ ๒๐

4 ๔. ประชาชน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านของตนเอง

๔. ประชาชน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านของตนเอง ร้อยละ ๗๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ๔ ประเภท(12 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 16,320.00                  
2 2. กิจกรรมจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล(12 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 1,000.00                  
รวม 17,320.00
1 1. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ๔ ประเภท กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 16,320.00 1 16,320.00
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 (ให้ความรู้การคัดแยกขยะ ๔ ประเภท) กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก จำนวน ๑๐๐ คน 100 16,320.00 16,320.00
2 2. กิจกรรมจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,000.00 1 1,000.00
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 (โดยมีพนักงานจากกองสาธารณสุขฯ เป็นกรรมการดำเนินงาน มีผอ.กองสาธารณสุขฯ เป็นที่ปรึกษา มีการรับฝากขายขยะจาก พนักงานอบต. อถล. และคนในชุมชน และทำบัญชีสะสมเงินแก่สมาชิก 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนได้รับความรู้ รู้จักวิธีการคัดแยกขยะ และการจัดการขยะที่ถูกต้อง ๒. ประชาชนมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง
๓. ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตต่อวันลดลง
๔. ประชาชน มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านของตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 10:18 น.