กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็กตะโละโภชนาการดีสู่สุขภาพที่ดีเลิศ ปีงบ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังขาดเทคนิคและความรู้เกี่ยวกับการติดตาม ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี
47.00
2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังขาดทักษะในการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวิธีการเขียนกราฟแปลผลโภชนาการเด็กตามสมุดบันทึกสสุขภาพแม่และเด็ก ที่ถูกวิธี
47.00
3 เด็ก 6 เดือน ถึง 5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ
28.00
4 เด็ก 6 เดือน 5 ปี มีภาวะซีด
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากการขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน จากการขาดสารไอโอดีน และภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดู การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
จากรายงานการสำรวจขององค์การ UNICEFในปี พ.ศ. 2565 การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย 12 จังหวัด พบว่า มีภาวะผอมแห้ง ร้อยละ 7.2ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 6.7 และภาวะเตี้ยแคระแกร็น ร้อยละ 12.5 โดยพื้นที่จังหวัดปัตตานีถือเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการสูงในประเทศไทย ซึ่งมีภาวะผอมแห้ง ร้อยละ 12.6 ภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 21.1 และภาวะเตี้ยแคระแกร็น ร้อยละ 19.5เนื่องจากภาวะทุพโภชนาการเด็กเกิดจากปัจจัยร่วมหลายประการ คือ 1. ปัจจัยกายภาพของเด็ก ที่มีน้ำหนักแรกเกิดของเด็กต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และผอมลง ถึง 4 เท่า 2. ปัจจัยครอบครัว แม่ที่ตั้งครรภ์มีภาวะซีดเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ3. ปัจจัยสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งคนในพื้นที่มีค่านิยมและความเชื่อเรื่องการดูแลแม่หลังตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรไม่ถูกต้อง ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์สมัยใหม่ และยังพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งให้ผู้สูงอายุดูแลหรือให้พี่เลี้ยงน้อง (เด็กเลี้ยงเด็ก) โดยขาดทักษะการเลี้ยงดู เด็กจึงถูกเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดภูมิคุ้มกันโรค และมีภาวะเจ็บป่วยง่าย ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ ยังส่งผลให้เกิดภัยคุกคามทางสุขภาพ
จากการสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่มีภาวะทุพโภชนาการในเด็กเป็นหนึ่งปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจาก เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 38มีภาวะโลหิตจาง (ซีดในกลุ่มอายุต่ำกว่า 2 ปี) มากกว่าร้อยละ 50 ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลร่วมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละ ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมโภชนาการในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่/ผู้ดูแลมีความรู้สามารถเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัย มีสุขภาพที่ดี วางพื้นฐานให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพตนได้อย่างเต็มที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี เพิ่มขึ้น

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

20.00 100.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวิธีการเขียนกราฟแปลผลโภชนาการเด็กตามสมุดบันทึกสสุขภาพแม่และเด็ก ที่ถูกวิธี

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก และวิธีการเขียนกราฟแปลผลโภชนาการเด็กตามสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่ถูกวิธี ร้อยละ 100

30.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ 100

47.00 100.00
4 เพื่อให้เด็ก 6 เดือน 5 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ร้อยละ 80

36.00 14.00
5 เพื่อให้เด็ก 6 เดือน 5 ปี มีภาวะซีดลดลง

เด็กอายุ 6 เดือน-5 ปี มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 40

50.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,150.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 67 จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานและอาสาสมัครสาธารณสุข 0 0.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูให้ความรู้และแนวทางการติดตามเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 5,200.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็ก 0-5 ปี แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 10,950.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามและประเมินผลการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 18,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กได้รับการตรวจประเมินภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ และเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาได้รับการแก้ไข ทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 14:51 น.