กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลหญิงหลังคลอด
รหัสโครงการ 2560-L3310-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านลานช้าง
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภลักษณา เพชรย้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.433,100.111place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 81 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระยะหลังคลอด (Postpartum period) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดทารกและรกเสร็จสิ้น ไปจนถึงระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด (ใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งการคลอดปกติทางช่องคลอดและการผ่าท้องคลอด) ซึ่งในช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสรีระและฮอร์โมนของสตรีหลังคลอดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ ซึงในการดูแลมารดาและทารกนั้นนับว่ามีความสำคัญเพื่อที่จะลดภาวะแทรกซ้อน ในอดีตถือกันว่ามารดาหลังคลอดนั้นเป็นคนป่วย ต้องได้รับการรักษาเหมือนคนไข้ของโรงพยาบาลทั่วไป แต่ในปัจจุบันความคิดเช่นนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะมารดาหลังคลอดก็คือคนปกติที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตร เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ ที่ต้องการการเอาใจใส่บ้างตามสมควร ด้วยการประคับประคองให้สามารถช่วยเหลือตนเองด้านการปฏิบัติตัวหลังคลอด ระยะพักฟื้นหลังคลอด โดยทั่วไปถือว่า 5-6 สัปดาห์เป็นระยะเวลาที่นานเพียงพอสำหรับร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ที่จะค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนตอนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ในเรื่องของสภาพจิตใจ การปรับตัวให้เข้ากับบทบาทของความเป็นแม่ และการเลี้ยงดูลูกน้อย คงต้องใช้เวลานานกว่านี้ รพ.สต.บ้านลานช้างได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดูแลหญิงหลังคลอดเพื่อให้แม่และลูกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนในหญิงหลังคลอด ในการลดภาวะแทรกซ้อนของมารดาหลังคลอดและเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในเด็ก 0-6เดือน

มารดาหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน 100 %

2 เพื่อฟื้นฟูความรู้ อสม.เชี่ยวชาญด้านนมแม่ ดูแลหญิงหลังคลอด

.อสม.ได้รับการฟื้นฟู อสม.เชี่ยวชาญ100 %

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มารดาหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  2. มารดาทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2559 13:10 น.