กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 67 - L4138 – 06 – 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านยะลา
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 6,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเธ็ลมา ดอยอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.523,101.181place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6,200.00
รวมงบประมาณ 6,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติการณ์โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney DeseaseCKD)และโรคไตวายระยะสุดท้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาต่อเนื่องมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมากเมื่อเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End Stage Renal Diseaseซึ่งจำเป็นต้องรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๕๐,๐๐๐บาทต่อคนต่อปีหรือการล้างไตทางหน้าท้องแบบต่อเนื่อง (Continuous AmbulatoryPeritoneal Dialysis)ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย๒๐๐,๐๐๐บาทต่อคนต่อปีหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตซึ่งขาดแคลนไต จากข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2555 พบว่าโรคไตเรื้อรังมีสาเหตุจากโรคเบาหวานมากที่สุด (ร้อยละ 37.5) รองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 25.6), โรคที่มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วทางเดินปัสสาวะ (ร้อยละ 4.3) และโรค chronic glomerulonephritis (ร้อยละ 2.4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความชุกของโรคไตเรื้อรังและนิ่วไตสูงมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ(https://ckd.kku.ac.th,14/10/59) และข้อมูลจากการการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไต ระยะที่ 2 จำนวน 6 คนระยะที่ 3 จำนวน 12 คน ระยะที่ 4 จำนวน 8 คน และระยะที่ 5 จำนวน 0 คน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะลา จึงได้จัดการทำโครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันโรคไตวายเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดูแลรักษาและชะลอไม่ให้เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย โดยให้การดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นอย่างมีคุณภาพอันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐในการรักษาพยาบาลโรคไตวายระยะสุดท้าย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการอบรม มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย ร้อยละ 100

100.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล/ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

มีเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมให้ความรู้(23 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 6,200.00                  
รวม 6,200.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 6,200.00 0 0.00
23 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเสื่อมของไต 40 6,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ / ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังและชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย 2.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแล / ป้องกันโรคไตวายเรื้อรังและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง 3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 11:26 น.