กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกประคบสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชนอัยเยอร์ควีน
รหัสโครงการ 67-L4131-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ 8 ตำบลอัยเยอร์เวง
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภัทมา อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวบุสริน ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.963,101.398place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านแบบดั้งเดิมที่อยู่คู่กับคนไทยมาแต่สมัยโบราณ มีความหลายหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร นวด ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ สิ่งเหล่านี้เองทำให้เกิดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรักษาโรค แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่สมัยโบราณได้ลดเลือนหายไป จึงมีความคิดนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาช่วยบำบัดรักษาอาการเจ็บปวดเมื่อยล้าจากการทำงานต่าง ๆ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านแทนที่จะกินยาในแผนปัจจุบัน ดังนั้นทางกลุ่ม อสม. หมู่ 8 ตำบลอัยเยอร์เวง จึงมีการจัดโครงการลูกประคบสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชน อัยเยอร์ควีน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพด้วยการแปรรูปเป็นลูกประคบ และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านด้วยการทำลูกประคบในการรักษาโรคได้

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านด้วยการทำลูกประคบในการรักษาโรคได้

80.00
2 เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 สามารถส่งเสริมการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นก่อนได้

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 16,300.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การทำลูกประคบสมุนไพร 60 16,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ส่งเสริมการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับใช้ในการรักษาโรค
  2. ส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ
  3. ใช้สมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
  4. คนในชุมชนหันมาดูแลตนเองและมีสุขภาพดีจากลูกประคบสมุนไพร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 15:09 น.