กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนด้วยการละเล่นพื้นบ้าน (เล่นสร้างสุข)
รหัสโครงการ 67-L5298-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เยาวชนกลุ่มเมล็ดพันธุ์เกตรี
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมุคนี ขุนรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“Good health and Well-being” ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SustainableDevelopment Goals: SDGs) ที่สหประชาชาติร่วมกันกำหนดขึ้นเป็นวาระการพัฒนาระดับโลกที่ต้องบรรลุให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งประเด็นนี้จัดอยู่ในเป้าหมายที่ 3 ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาไทยโดยสถาบันต่าง ๆ แตกต่างกันไป เช่น“ชีวิตที่มีสุขภาพดีและสุขภาวะของทุกคนในทุกช่วงวัย” หรือ “สร้างหลักประกันการมีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย”ความหมายของคำว่า ‘สุขภาพ’ เริ่มมีการนิยามมาตั้งแต่พ.ศ. 2489 ในธรรมนูญสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำงานเกี่ยวกับระบบสุขภาพโลก โดยนิยามว่า “สภาวะความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางกาย จิต และสังคม และไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องของการปราศจากโรคและความพิการ (Health is a state of complete physical, mental and social well-being and not merely the absence of the disease and infirmity)” ซึ่งถือว่ามีความครอบคลุมมิติสำคัญของชีวิตมนุษย์ทั้งเรื่อง ร่างกาย จิตใจ และสังคม‘Well-being’ ไม่มีคำนิยามที่เป็นสากล เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวกของการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม ไม่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคโดยหมอ ไม่ใช่คำทางการแพทย์ทางสาธารณสุขแต่เป็นเรื่องของสังคม อาจเข้าใจกันและเรียกอีกนัยหนึ่งคือ ความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามปฏิรูประบบสุขภาพของไทย ที่มีการใช้คำว่า ‘สุขภาวะ’ สื่อสารแทนคำว่าสุขภาพดีมากขึ้น คำ ๆ นี้ช่วยทำให้สังคมเข้าใจสุขภาพในความหมายกว้างขวางขึ้น ว่าสุขภาพดีต้องพิจารณาเชื่อมโยงสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ไม่จำกัดเฉพาะเฉพาะเรื่องสุขภาพทางกายหรือไม่เจ็บป่วย การมีสุขภาพที่ดีประกอบไปด้วย (1) สุขภาวะทางกาย (Physical Wellbeing) เช่นการมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ(2) สุขภาวะทางจิต (Mental Wellbeing)เช่น การไม่เครียดการไม่วิตกกังวล การมีความพึงพอใจในชีวิต(3) ทางสังคม (Social Wellbeing) เช่นการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง มีครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม มีความเสมอภาค มีภารดรภาพ มีสันติภาพ เข้าถึงสวัสดิการ ระบบบริการสาธารณะที่ดี(4) สุขภาวะทางปัญญา (Intellectual well-being) เช่น การมีทักษะชีวิต การเรียนรู้ต่อเนื่อง โลกทรรศน์ที่ถูกต้อง โดยท่านยังได้เสนอว่า ควรให้ความสำคัญเรื่อง สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual well-being) ด้วย เช่น การรู้ผิดชอบชั่วดี การไม่ยึดถือตัวตนอัตตา การเข้าใจและเท่าทันความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ซึ่งท่านมิตินี้ทำให้มีการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์(อ้างอิง sdgmove.com) ด้วยเหตุนี้เยาวชนกลุ่มเมล็ดพันธุ์เกตรี มีความตั้งใจในการสร้างพื้นที่เรียนรู้พัฒนาศักยภาพกาย จิตและสังคมและปัญญา ของเด็กและเยาวชนในทุกมิติเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีสุขภาวะที่ดีมีพัฒนาการด้านสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์เหมาะสมแก่ช่วงวัย โดยการนำการละเล่นพื้นบ้านมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสุขภาวะแก่เด็กและเยาวชน ภายใต้โครงการ ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนด้วยการละเล่นพื้นบ้าน (เล่นสร้างสุข)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,200.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน 2 ครั้ง 0 1,500.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนด้วยการละเล่นพื้นบ้าน 7 วัน 0 19,900.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมการดูแลสุขภาพ ฐานการเรียนรู้ 1 วันเต็ม 0 10,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลุ่มเยาวชนรักสุขภาพ
  2. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเรื่องสุขภาวะที่ดี
  3. เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีเข้าสังคมได้ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 00:00 น.