กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องผู้ป่วยเบาหวานห่วงใยใส่ใจเท้า
รหัสโครงการ 67-L7012-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณัทพล ศรีระพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อการดำเนิน ชีวิตของประชาชนในภาพรวม ความเร่งรีบในการเดินทางไปทำงาน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ส่งผลในเรื่องการบริโภคอาหารที่ไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ เป็นสาเหตุของการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังโดยเฉพาะเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุข โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จนเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของ ประเทศ ผู้ที่เป็นเบาหวานมาหลายปีหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต และเท้า ซึ่งปลายประสาทเท้าเสื่อมทำให้เกิดแผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรื้อรัง และนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการสูญเสียเท้าได้ ปัญหาของเท้าที่พบบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน เช่น เท้าผิดรูป หรือแผลเรื้อรังที่เท้า เป็นปัญหาสำคัญ มีผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง และอาจเป็นสาเหตุของความพิการไปจนถึงสูญเสียเท้าหรือขาได้ ดังนั้นถ้าผู้ป่วยรู้จักการดูแลเท้าอย่างถูกต้องและปฏิบัติตามสม่ำเสมอ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
องค์การอนามัยโลกได้ประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานอย่างน้อย 135 ล้านคนทั่วโลก โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบร้อยละ 97 และทำนายว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคนในปี ค.ศ. 2025 และในจำนวนนั้นจะมีมากกว่า 150 ล้านคนที่อยู่ในทวีปเอเซีย ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 เท่า สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเซียนั้นผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เทพ หิมะทองคำ และคณะ, 2544) อำเภอหนองจิก มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 2,143 คน ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานทางเท้า 1,054 คิดเป็นร้อยละ 49.18 (โปรแกรม HDC ณ วันที่ 27 ต.ค.2566) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์ มีผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 130 คน พบปัญหาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน จำนวน 15 คน และในผู้ป่วยดังกล่าวมีภาวะแทรกซ้อนส่งผลต่อแผลที่เท้า จนต้องตัดเท้าจำนวน 3 คน กลายเป็นผู้พิการ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ส่งผลต่อเศรษฐกิจของครอบครัว ด้วยเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า ซึ่งควรกระทำตั้งแต่เริ่มแรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบการดูแลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ผู้ป่วยจะได้รับการสอน การแนะนำ และสนับสนุน รวมทั้งการกระตุ้นให้กำลังใจจากทีมสาธารณสุข จึงได้จัดทำ “โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องผู้ป่วยเบาหวานห่วงใยใส่ใจเท้า” ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

30.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ติดตามและประเมินผล(24 ม.ค. 2567-24 ม.ค. 2567) 0.00          
2 กิจกรรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 10,800.00          
รวม 10,800.00
1 ติดตามและประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามผล 0 0.00 -
2 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 10,800.00 0 0.00
24 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้ความรู้ 60 10,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ดูแลมีความรู้ และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของเท้า ตามแนวทางการรักษาอย่างต่อเนื่อง ๒. ผู้ป่วยเบาหวานไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของเท้า และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 09:25 น.