กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการเช็ดแหกเพื่อบรรเทาต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
รหัสโครงการ 67-L7012-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณัทพล ศรีระพันธุ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในสังคมปัจจุบัน มักเกิดจากการทำงานก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก เล่นกีฬา นั่งยืน นอนหรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป การใช้กล้ามเนื้อในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นซ้ำๆ เป็นเวลานาน บางท่าทางอาจทำให้เกิดอาการตึง ยึด จนเกิดอาการเจ็บปวดซึ่งบริเวณที่พบบ่อยที่สุด คือ คอ บ่า ไหล่ และหลังส่วนบน หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาหรือจัดการกับความปวดที่เหมาะสม จะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ส่งผลให้ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันลดลง และการที่ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความปวดที่ยาวนานย่อมส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้เกิดความเครียดได้ และในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทั้งในเวลาการทำงานและในเวลาว่าง อาทิเช่น คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน ซึ่งท่าทางในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้มักต้องอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ด้านการแพทย์แผนไทย มีการเทียบเคียงโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 4 หลัง ใกล้เคียงกับกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อบ่า คอ และสะบัก มีอาการชาร้าวไปถึงหัวไหล่ลงไปที่แขนด้านนอกไปจนถึงปลายมือ หรือหายใจไม่เต็มอิ่ม
จากสถิติผู้มารับบริการในคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งนเรนทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พบว่า ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกมากที่สุด คืออาการปวดกล้ามเนื้อหลัง รองลงมาคือ มีอาการปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ โดยมีผู้มารับบริการในปี พ.ศ. 2566 คิดเป็นร้อยละ 16.5 และ 12.3 ตามลำดับ จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นว่ากลุ่มอาการดังกล่าวเป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย และคลินิกการแพทย์แผนไทยเองก็ได้ให้การรักษากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) โดยใช้การนวดรักษาแบบราชสำนักเป็นหลัก ซึ่งส่งผลต่อระบบกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพราะมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นอันที่จะช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยลง นอกจากนี้การบำบัดด้วยวิธีการเช็ดแหก เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่น่าสนใจเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ข้อมูลจากสมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา ซึ่งอ้างอิงมาจากนาย สวัสดิ์ วรรณศรี (พท.ภ,พท.ว) กล่าวว่า การเช็ดแหก เป็นการนวดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า นวดเสียดสี ทำให้กล้ามเนื้อคลาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เพิ่มออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อร่างกาย เปิดรูขุมขนขับของเสียออกจากร่างกาย กระตุ้นความร้อนทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญดีขึ้น และยังช่วยปรับร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ดังนั้นคลินิกการแพทย์แผนไทย จึงได้ทำการศึกษาประสิทธิผลของการเช็ดแหกเพื่อบรรเทาต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ลดการใช้ยาในกลุ่มยาแก้ปวดและยาคลายกล้ามเนื้อแผนปัจจุบัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงโดยเฉพาะผลต่อระบบทางเดินอาหาร และทำให้มีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมให้ความรู้(4 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 18,100.00                  
2 การปฏิบัติงาน(24 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                  
รวม 18,100.00
1 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 18,100.00 0 0.00
24 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้ความรู้ 70 18,100.00 -
2 การปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 0 0.00
24 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 การปฏิบัติตามกิจกรรม 20 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
  2. ประชาชนทั่วไปมีอาการปวดกล้ามเนื้อออฟฟิศซินโดรมลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 09:59 น.