กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 5 กัลยาณมิตรตามติดผู้่ป่วยจิตเวช ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเต่าใต้
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า
76.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาทางสังคม มีการใช้สารเสพติดของประชาชนเป็นเวลานาน ทำให้มีภาวะสุขภาพจิต คือ โรคจิตเภท ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญโรคหนึ่ง ของประเทศไทยที่พบมาก ซึ่งจะมีผลตามมาคือ การกำเริบของโรคทางจิตเวช ก่อผลกระทมต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมของประเทศชาติ เนื่องจากรัฐจะต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จัดเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงมีอัตราการรักษาในโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดูแลสูง อีกทั้งต้องอาศัยผู้ดูแลให้คอยช่วยจัดยาและจัดการชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอยู่ตลอด รวมทั้ง ต้องเสียเวลาในการประกอบอาชีพ และขาดรายได้ เนื่องจากต้องพาผู้ปวยไปรับการรักษาบ่อยครั้ง และเกิดปัญหาทางด้าน สุขภาพจิตของตนเองร่วมด้วย ส่วนใหญ่ อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยกินยาไม่ต่อเนื่อง ญาติขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและขาดทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ตลอดจนผู้ป่วยจิตเภทเองยังไม่ตระหนักรู้ถึงอาการเจ็บป่วยของตนเอง รู้สึกตัวเอง ไม่มีคุณค่า และขาดทักษะที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองเต่าใต้มีผู้ป่วยจิตเวซที่จะต้องติดตามดูแลในปี 2567 จำนวน 37 คน อาการกำเริบและเข้ารับการรักษาส่งต่อโรงพยาบาล จำนวน 4 ราย จากการวิเคราะห์พบว่าการกำเริบมาจากสาเหตุผู้ป่วยมารับการรักษาไม่ต่อเนื่อง มีการกินยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมกินยา และญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลจากปัญหาตังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ 5 กัลยาณมิตรตามติดผู้ป่วยจิตเวช ปี 2567 ขึ้น เพื่อการดำเนินการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากปี 2566 ลดอาการกำเริบ และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
0.00 80.00
2 2. เพื่อติดตาม/ดูแลการขาดยาของผู้ป่วยจิตเวชต่อเนื่อง
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
80.00
3 3. เพื่อลดอาการกำเริบหรือการกลับมาร่วมสังคมปกติ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
70.00
4 4. เพิ่มแนวทางการดูแลแก่ญาติ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
100.00
5 5. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยและญาติ
  1. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,850.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 การอบรมเสริมทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสำหรับญาติผู้ป่วย, ขวัญใจ ผู้ป่วย, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมการทานยาหรือฉีดยาของผู้ป่วยจิตเวช โดยขวัญใจหรือทีม 5 กัลยาณมิตร 0 14,850.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสามารถดูแลตัวเอง และญาติผู้ป่วยมีความรู้ มีทักษะที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวช ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ ไม่มีอาการกำเริบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.