กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1528-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปูน
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมพร สวัสดิ์หิรัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.803,99.668place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกคือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี่ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ในประเทศไทยไวรัสเดงกี่เป็นเชื้อที่ก่อโรค จึงชื่อว่าไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue Haemorrhagic Virus) มีรายงานครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕-๑ ปัจจุบันไข้เลือดออกเดงกี่ พบการติดเชื้อได้ในหลายประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายมี ๒ ชนิด ได้แก่ยุงลายสวนและยุงลายบ้านที่พบกันบ่อยที่สุดคือยุงลายบ้าน พบในบ้าน บริเวณรอบบ้าน มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพัน' Aedes Aegyptiยุงลายเพศเมีย หากินในเวลากลางวัน ขอบวางไข่ในน้ำนิ่งที่ค่อนข้างสะอาด และเชื้อไวรัสจะอยู่ในตัวยุงชั่วชีวิตของยุงตัวนั้นประมาณ 2-6 เดือน กลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกมักพบมากในฤดูฝน ช่วงพฤษภาคมถึงกันยายน พบได้ในทั้งหญิงและชาย แต่จะพบมากในช่วงอายุ ดังนี้ เด็กอายุ ๕-๙ ปี (มากที่สุด) ช่วงอายุ ๑๐-๑๔ ปี (รองลงมา) แรกเกิดถึง ๔ ปี (รองลงมา) ๑๕ ปีขึ้นไป (รองลงมา)อาการของโรคไข้เลือดออก หลังรับเชื้อไวรัสเดงกี่เข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาประมาณ ๕-๘ วัน อาการของโรคจะปรากฎขึ้น โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับ ดังนี้ ไข้สูงนาน ๒-๗ วันมีอาการเลือดออกบ่อย โดยมีจุดเลือดออกที่ผิวหนังภาวะตับโต สามารถคลำบริเวณใต้และเมื่อกดแล้วจะเจ็บภาวะการไหลเวียนเลือดสัมเหลว และอาจเกิดภาวะช็อค อาการของผู้ป่วยไข้เลือดออกมีใข้สูงเฉียบพลัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยพบเลือดออกตามลำตัว แขน ขา และมีอาการเบื่ออาหารมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ไม่ดื่มน้ำ ซึม นอนนิ่ง ไม่พูดคุยบางรายอาจมีเลือดกำเดาออก ถ่ายเป็นสีดำ อาเจียนมีเลือดปน และมักไม่แสดงอาการหวัด ช่วงอันตรายจะอยู่ช่วงไข้เริ่มลง ๒*๗ วัน โดยทั่วไปจะพบภาวะช็อค หรือทำให้เสียชีวิตในผู้ป่วยบางราย แต่ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกสามารถรักษาได้ผลตีถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เริ่มต้นความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก ระดับความรุนแรงของไข้เลือดออกมี ๔ ระดับ ระดับ ดไข้สูง แต่ยังจะไม่พบจุดเลือดออก โดยระดับนี้สามารถดูและเบื้องตันด้วยการเช็ดตัวบ่อยๆ ดื่มน้ำเยอะๆ ระดับ ๒ระยะนี้ถ้าผู้ป่วยยังสามารถทานอาหาร ดื่มน้ำได้ ยังไม่ต้องมาโรงพยาบาล(แต่ถ้าทานและดื่มไม่ได้ให้พามานอนโรงพยาบาล เพื่อตรวจและดูแลอย่างใกล้ชิด)ระดับ แพบชีพจรที่เบาและเร็ว มือเท้าเย็น หน้าซีด กระสับกระส่าย นั่นแสดงว่ามีความดันเลือดต่ำมาก ให้รีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์และตรวจวินิจฉัยโดยเร็วระดับ แรงดันเลือดตกมาก ไม่สามารถวัดค่าได้ หรือการเกิดภาวะช็อค ซึ่งอาการระดับนี้เกิดขึ้นให้รีบพามาโรงพยาบาลในทันที       โรคไข้เลือดออก นับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศ และจังหวัดตรัง มีการระบาดติดต่อกันหลายปี บางปีมีรายงานผู้ป่วยหลายพันคน และมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า แต่ปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกก็ยังมีตลอด โดยมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค มักจะบาดในช่วงฤดูฝน เนื่องจากแหล่งน้ำขังในภาชนะ ต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาพันธ์ยุงลายทำให้เพิ่มจำนวนยุงลายซึ่งเป็นพาหนะโรคได้อย่างดีการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเตรียมความพร้อมในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลายเพื่อลดพาหะนำโรค โดยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ และสารเคมีกำจัดยุงลาย ในส่วนมาตรการป้องกันและกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ก็ต้องมีมาตรการในการป้องกันโดยการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชนให้เกิดความตระหนักในการป้องกันยุงกัด และการกำจัดยุงลายโดยการพ่นหมอกควันทั้งในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรค เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจหลักของการพ่นหมอกควันที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และรวมถึงทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขาปูน จึงได้จัดทำโครงการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อเตรียมพร้อม และลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อโรคและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเขาปูน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนัก ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ร้อยละ ๑๐๐

2 เพื่อให้คณะทำงานทำงานได้เต็มศักยภาพในการป้องกันและควบคมโรคได้ทันท่วงที

ร้อยละ ๑๐๐

3 เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลเขาปูน

ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย(24 ม.ค. 2567-24 ม.ค. 2567) 5,500.00                  
รวม 5,500.00
1 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 5,500.00 0 0.00
24 ม.ค. 67 กิจกรรมเชิงรุกในครัวเรือน/บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของโรคไข้เลือดออก โดยการทำลายพาหะของโรคโดยทันที 0 0.00 -
24 ม.ค. 67 กิจกรรมเชิงรุกในชุมชนโดยการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ที่เป็นพาหะนำของโรคไข้เลือดออก และเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคได้ทันท่วงที 100 5,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเขาปูนลดลง 2.คณะทำงานได้ทำงานอย่างทันท่วงที่ในการดำเนินการพ่นหมอกควันควบคุมโรคไข้เสือดออกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 3.ครัวเรือนที่พบผู้ป่วยและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงได้รับการดำเนินการพ่นหมอกควันตามมาตรฐานการ ควบคุมโรค ไช้เลือดออก ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคใช้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเขาปูนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 11:36 น.