กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรูสะมิแลเข้มแข็ง ร่วมแรงลดความดัน(หมู่2,3,6)
รหัสโครงการ 61-L3018-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 57,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงจัดเป้นปัญหาคุกคามสุขภาพของคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาดลักษณะของการดำเนินของโรคค่อยเป็นค่อยไป เปรียบเหมือนภัยเงียบทางสังคมในด้านสุขภาพ โดยร้อยละ 90-95 มักไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เชื่อว่ามีปัจจัยเสี่ยงจากการละเลยวิถีการดำเนินชีวิตของการมีสุขภาพที่ดี กรรมพันธ์และความเสื่อมของร่างกายตามอายุขัยของบุคคล ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่พยาธิสภาพของโรคจะลุกลามช้าๆ จนมีอาการรุนแรงมากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลให้เกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต โรคไตวาย นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ผู้ที่มีชีวิตรอดอาจจะต้องมีภาวะความพิการ ซึ่งเป็นภาระต่อเนื่องหลังจากการรักษาไปตลอดชีวิตและทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่สามารถป้องกันหรือสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง รวมทั้งการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย องค์การอนามัยโลกรายงานว่าทั่วโลกที่มีผู้มีความดันโลหิตสูงเกือบถึงพันล้านคน ซึ่งสองในสามของจำนวนนี้อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทั่วโลกสูงถึง 8 ล้านคนต่อปี คาดการณ์ว่านปี พ.ศ. 2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 1.46 พันล้านคน นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจขาดเลือดเกิดจากความดันโลหิตสูง สำหรับสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย จากรายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ.2555 พบว่าโรคความดันโลหิตสูง มีความชุกสะสมสูงสุด 3,398,412 ราย หรือคิดเป็นอัตราความชุก 5,288.01 ต่อประชากรแสนคน สถานการณ์การป่วยและการเข้ารับการรักษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภาค เมื่อเปรียบเทียบอัตราป่วยจากปี 2546 และปี 2557 พบอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากรแสนคน มีอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า และจากข้อมูลสถิติตสาธารณสุขไทยปี พ.ศ. 2557 พบว่าอัตราการตายจากสาเหตุโรคความดันสูลเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุความดันโลหิตสูง จำนวน 7,115 คนต่อประชากรแสนคน ซึ่งสุงกว่าข้อมูลการตายปี 2556 ที่มีจำนวน 5,165 คนต่อประชากรแสนคน จังหวัดปัตตานีพบว่า ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 48,267 คน คิดเป็นอัตราความชุก 7148.92 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าอัตราความซุกระดับประเทศ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 13 ตำบล ซึ่งตำบลรูสะมิแลเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองปัตตานี มีประชากรอาศัยอยู่ 17,915 คน จากสถิติตระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อ สำนักสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ตบจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 จำนวน 107 และ 252 คนตามลำดับ อีกทั้งพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราการรับบริการที่คลินิคโรคเรื้งรังสูงเป็นอันดับ 1 และมีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.79 เป็นร้อยละ 64.5 ในจำนวนนี้พบภาวะแทรกซ้อนด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 6.11 โรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 5.89 และโรคไตและการทำงานของไตบกพร่อง ร้อยละ 7.93 จากแนวโน้มของการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นทุกๆปีส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆของโรคมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการเพิ่มของ Systolic blood pressure (SBP) 20 มิลลิเมตรปรอท หรือ diastolic และ blood pressure (DBP) 10 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ป่วยอายุระหว่าง 40-69 ปีจะทำให้เพิ่มอัตราการตายจาก Stroke และ ischemic heart disease ขึ้นมากกว่าสองเท่าตัว ในทางตรงกันข้ามหากสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ อยู่ในระดับเป้าหมายหรือต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตลงได้ร้อยละ 35-40 ลดการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้มากกว่าร้อยละ 50 และลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ร้อยละ 20- 25 ซึ่งการควบคุมระดับความดันโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายทำได้โดยการรักษา ด้วยกรใช้ยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีิวต ได้แก่ การควบคุมน้ำหนัก ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว จำกัดปริมาณเกลือ โซเดียมในอาหาร เพิ่มการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หยุดสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มสุรา พักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด จากงานวิจัยพบว่าการไม่สามารถปฎิบัติตนในการดูแลตนเองและไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ดังนั้น การจัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความดันโลหิตสูง จึงเป็นการพัฒนาคุณภาพระบบการบริการสุขภาพและพัฒนาทักษะ การเสริมพลังศักยภาพการดูแลตนเอง เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการส่งเสริมวิถีชีวิตประจำวันให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้ในระยะยาว รวมทั้งลดโอกาส การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเสริมความรู้ที่ถูกต้องและทัสนคติืที่ดีนำไปสู่พฤติกรรมการดูแลตนเองในวิถีชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม โดยมุ้งเน้นให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ถึงระดับผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อยร้อยละ 70

3 3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลรูสะมิแล หรือทีมเยี่ยมบ้าน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อสร้างเสริมความรู้ที่ถูกต้องและทัสนคติืที่ดีนำไปสู่พฤติกรรมการดูแลตนเองในวิถีชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม โดยมุ้งเน้นให้สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลรูสะมิแล หรือทีมเยี่ยมบ้าน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน 2.ประชาสัมพันธ์โครงการเปิดรับสมัครและคัดเลือกหลุ่มเป้าหมายโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้และรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล 3.ประชุมชี้แจง เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ และอบรมให้ความรุ้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน เพื่อสร้างความรุ้ที่ถูกต้องให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลร ุสะมิแล 4.จัดอบรมให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ 5.จัดกลุ่มสนมนา ภายใต้แนวคิดเพื่อนช่วยคิด พิชิตความดัน โดยการจับกลุ่ม ระหว่างอาสาสมัคร 6.กิจกรรมถอดบทเรียนและทำแบบประเมิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เป็นต้นแบบโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการควบคุมโรคเพื่อลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อน ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล ได้ดำเนินการต่อเนื่อง
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรุ้ ทักษะ และพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
  3. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินปัญหาสุขภาพโดย อสม.และทีมเยี่ยมบ้าน เพื่อสร้างกำลังใจและกระตุ้นในผู้ป่วยเห็นความสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต
  4. มีระบบการดูแลสุขภาพผุ้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 11:27 น.