กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน ม.6 บ้านยูโย ต.บางขุนทอง ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2484-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,980.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2567 30 ก.ย. 2567 15,980.00
รวมงบประมาณ 15,980.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเท้าช้างเป็นโรคที่ได้รับการประกาศว่าสามารถกำจัดได้แล้วเมื่อกันยายน 2560 เพื่อการติดตามให้การกำจัดมีความยั่งยืน ป้องกันการกลับมาแพร่โรค จึงได้มีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อให้สามารถจัดการควบคุมโรคตามผลของการเฝ้าระวัง ก่อนที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรคจนกลับมาเป็นปัญหาอีกในอนาคต จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดเดียวที่มีปัญหาการแพร่โรคเท้าช้าง โดยมีการรายงานการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในพื้นที่บริเวณรอบพรุใน 7 อำเภอ 22 ตำบล 87 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยสะสมขึ้นทะเบียนรักษาจนถึง กันยายน 2566 จำนวน 19 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อพยาธิในโลหิตทั้งหมด จากการดำเนินงาน โครงการคัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในประชาชน ตำบลบางขุนทอง พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย เป็นหมู่ 3 บ้านโคกงู 2 ราย และหมู่ 5 บ้านโคกชุมบก จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ สามารถปฎิบัติตนได้ถูกต้อง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู ได้ประสานกับทีมควบคุมโรคศูนย์พิกุลทองเพื่อลงพื้นที่ติดตามกลุ่มป่วยและติดตามจ่ายยาโรคเท้าช้างเป็นระยะ เวลา 2 ปี การควบคุมโรคเท้าช้างในแมวซึ่งเป็นรังโรคในสัตว์ของเชื้อ Brugia malayi ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537-2560 มีการเจาะโลหิตแมวในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างของจังหวัดนราธิวาสพบอัตราการติดเชื้อลดลงจากปีที่พบการติดเชื้อสูงสุด พ.ศ. 2557 ร้อยละ 10.53 เหลือ ร้อยละ 4.11 ในปี พ.ศ. 2560 และได้ดำเนินการรักษาโดยการฉีดยา Ivermectin เพื่อฆ่าเชื้อพยาธิในแมว โดยเริ่มฉีดยาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 จนถึงปีงบประมาณ 2559มีความครอบคลุม ร้อยละ 10.5 นอกจากนี้จากการสำรวจทางกีฏวิทยาในปี พ.ศ. 2559 พบยุงที่เป็นพาหะชองโรคเท้าช้าง คือ Mansonia uniformis ที่มีพยาธิเท้าช้างระยะ L3 จำนวน 1 ตัว ในตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ ปี พ.ศ. 2561 พบเชื้อพยาธิเท้าช้าง ระยะ L2 หรือตัวอ่อนระยะก่อนติดเชื้อ (pre-infective lavae) ในยุงชนิด Mansonia annulataแต่ไม่พบตัวอ่อนระยะ L3 ในตัวยุง
จากการที่พบผู้ป่วยที่มีเชื้อในกระแสโลหิตเป็นประชาชนในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการคัดกรองสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาว่า ยังมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชนิดนี้ อีกหรือไม่ โดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาเชื้อในประชากร อายุ 2 ปีขึ้นไป ทุกคน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อโรคเท้าช้างในคน

ประชาชนอายุมากกว่า 2 ปี ในพื้นที่ ม. 6 บ้านยูโย ตำบลบางขุนทองทุกคน

0.00
2 เพื่อดูแลผู้ปรากฏอาการของโรคเท้าช้าง

ประชาชนอายุมากกว่า 2 ปี ในพื้นที่ ม. 6 บ้านยูโย ตำบลบางขุนทองทุกคน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,980.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 .....การรณรงค์การคัดกรองการติดเชื้อในคน กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ อสม. และแกนนำหมู่บ้าน เพื่อลงพื้นที่คัดกรองการติดเชื้อโรคเท้าช้างในชุมชน 0 15,980.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเจาะโลหิตตรวจโรคเท้าช้าง ๒. ประชาชนในพื้นที่แพร่โรคเท้าช้างได้รับการเฝ้าระวังการติดเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในยุงพาหะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 00:00 น.