กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2567
รหัสโครงการ L5234-2-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกระดังงา
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 66,009.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลกระดังงา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.509,100.427place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สำคัญซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคในทุกภาคของประเทศ มีแนวโน้มในการระบาดถี่ขึ้นและมีความรุนแรงมากขึ้น จากการระบาดของโรค ปีเว้นสองปี หรือ ปีเว้นปี ปัจจุบันมีการระบาดของโรค เป็นประจำทุกปี โดยพบผู้ป่วยได้ในทุกฤดูกาล โรคไข้เลือดออกจึงเป็นปัญหาระดับประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตาย เป็นจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน โดยที่สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องร่วมมือกับองค์กรชุมชนต่างๆดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. อปท. ผู้นำชุมชน ครูและนักเรียน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเน้นให้ อสม. ร่วมกับผู้นำชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากผู้นำชุมชนไม่ให้ความสำคัญและไม่เป็นตัวอย่างในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย อสม.ขาดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายเป็นช่วงๆขาดความสม่ำเสมอ ประชาชนขาดความร่วมมือในการควบคุมลูกน้ำยุงลายในบ้านเรือนตนเอง ไม่เห็นความสำคัญของการกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพราะถือเป็นบทบาทของ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะเห็นว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 สิงหาคม 2566 จากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก รวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 58 ราย ส่วนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา จะเห็นว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ.2566 (วันที่ 1 มกราคม – 27 สิงหาคม 2566) จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 (วันที่ 1 มกราคม – 21 สิงหาคม 2566) จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 3,421 ราย เสียชีวิต 3 ราย จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสทิงพระ (วันที่ 1 มกราคม – 27 สิงหาคม 2566) พบผู้ป่วย 114 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 238.70 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต และจากข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระดังงา พบผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 337.53 ต่อประชากรแสนคน กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 1,724.14 ต่อประชากรแสนคน อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียน 12 ราย หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ หมู่บ้านพังเป็ด อัตราป่วย 1,190.48 ต่อประชากรแสนคน ดังนั้นเป็นการยากที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากจะอาศัยเพียงแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพียงอย่างเดียว เนื่องจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีอยู่ทั่วไปทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ดังนั้นการที่ จะป้องกันและควบคุมโรคให้ได้ผลเต็มที่ จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. โรงเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนตำบลกระดังงา ได้เห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออก
จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลกระดังงาลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDIAN ย้อนหลัง 5 ปี/เมื่อเทียบกับปีก่อน 2.เพ่ื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน 3.เพื่อลดความชุกชุมของลุูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน 4.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 5.เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรค

-อัตราปวยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 30 ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี  -สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทุกหมู่บ้านและไม่มีผู้ป่วยเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคไข้เลือดออกรายแรกก่อนหน้านี้แล้ว 28 วัน  -ค่า HI CI ในชุมชน วัด โรงเรียนและสถานที่ราชการไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  -หน่วยงานในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน ศพด. อบต. และประชาชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ ร้อยละ 100  -อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพทีมควบคุมโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ภาคีเครือข่าย อบต. อสม. วัด โรงเรียน ศพด. และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชนครอบคลุมร้อยละ 100 ทำให้อัตราความซุกชุมของลูกน้ำยุงลายลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงทุกปี จนเกิดเป็นหมู่บ้าน/ตำบลปลอดไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 10:39 น.