กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.รู้ตน ลดเสี่ยงลดโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลหอกลอง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุฬาลักษณ์ โอดมี
พี่เลี้ยงโครงการ พจอ.หญิงสุกัญญา ไม้หอม
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 ม.6 ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 61 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
36.22
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
15.35

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการคัดกรองสุขภาพในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปปี 2566 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 297 คน คิดเป็นร้อยละ 36.22 ของประชากรที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพทั้งหมด และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 15.35 ของประชากรที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2566 ประชากรในเขตตำบลหอกลอง ที่มีอายุ 18-59 ปี มีค่าดัชนีมวลกายปกติเพียงร้อยละ 33.76 และรอบเอวปกติเพียงร้อยละ 36.58 การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ทักษะและสามารถปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องตามหลัก 3 อ.2 ส. ได้แก่การบริโภคอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม การจัดการด้านอารมณ์เมื่อเกิดความเครียด การลด/งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกฮอล์ เป็นกลวิธีที่สำคัญในการลดความเสี่ยงและลดการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ในขณะเดียวกันองค์กรที่เป็นหลักในการขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ(Role model) แก่คนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ และทักษะ ในเรื่อง การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายตามวัย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา( 3 อ.2 ส.)

อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้ ทักษะ ด้าน 3 อ. 2 ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

70.00 80.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกาย ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 150 นาที  คิดเป็นร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

36.22
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

15.35
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 137 20,300.00 0 0.00
1 - 29 ก.พ. 67 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะที่จำเป็น โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. แก่อาสาสมัครสาธารณสุข รวมทั้งกำหนดมาตรการหรือข้อตกลงร่วมกัน 61 7,600.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 2. กิจกรรมรวมกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน 61 12,200.00 -
1 มิ.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 3. กิจกรรมประเมินโครงการและรายงานผล 15 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ ทักษะและสามารถปฏิบัติตัวตามหลัก 3 อ. 2 ส.ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 14:34 น.