กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกเขตพื้นที่หมู่ 1-7 องค์การบริหารส่วนตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L5248-010-67-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 52,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีติวัฒน์ หนูวิลัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลปริก มีปริมาณขยะถึง 40 ตันต่อวัน ซึ่งมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน หากคิดเฉลี่ยเป็นรายบุคคลแล้ว 1 คนจะก่อให้เกิดขยะในปริมาณ 2.56 กิโลกรัมต่อวัน จึงเป็นภาระหนักขององค์การบริหารส่วนตำบลปริกในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทุกวันนั้นทำให้มีปริมาณขยะตกค้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนมากมาย ได้แก่ บ้านเมืองสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศนียภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะนำโรคต่าง ๆ เช่นหนู แมลงสาบ แมลงวัน และยุง ซึ่งยุงเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญในชุมชน คือโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เป็นเขตร้อนชื้น จะพบยุงลาย (Aedes aegypti) อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจำนวนมาก เดิมทีระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก  จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 11- 20 ปี แต่ในปัจจุบันสามารถ พบได้ทุกกลุ่มอายุจากสถานการณ์            โรคไข้เลือดออกระดับประเทศ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม    ปี 2566 จำนวน 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 58 ราย จำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่าปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3 เท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2566)
จังหวัดสงขลา จากรายงานพบว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 21 ส.ค.66 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3,421 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 238.97 ต่อประชากรแสนคน พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง พบเพศชาย 1,719 ราย เพศหญิง 1,702 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1.01 : 1 มีรายงานผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน 0.21 อัตราผู้ป่วยตายร้อยละ 0.09 นอกจากนี้พบว่า กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 5-9 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 845.14 ต่อประชากรแสนคน อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ อ.สะเดา อัตราป่วยเท่ากับ 460.06 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อ.หาดใหญ่ อ.เมืองสงขลา อ.สิงหนคร อ.บางกล่ำ อ.สทิงพระ อ.คลองหอยโข่ง อ.นาหม่อม อ.จะนะ อ.เทพา อ.ควนเนียง อ.กระแสสินธุ์ อ.ระโนด โดยตำบลปริกมีผู้ป่วยทั้งหมด 82 ราย (อัตราป่วย 776.88 ต่อแสนประชากร) เป็นผู้ป่วยในเขตเทศบาลตำปริก จำนวน 44 คน คิดเป็นอัตราป่วย 416.86 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 38 คน คิดเป็นอัตราป่วย 360.01 ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยตำบลปริกส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน จำนวน ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2566) จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ตำบลปริก ปี 2566 พบว่าอัตราการป่วยไม่ลดลง การกระจายตัวของโรคส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กนักเรียน ส่งผล ให้ตำบลปริกเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง มีอัตราป่วยลอยตัวอย่างต่อเนื่อง     ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นให้มีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจขจัดภัยไข้เลือดออกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อเน้นให้ประชาชนให้ความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในบ้านเป็นประจำต่อเนื่องไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง

2 เพื่อให้ประชาชนสำรวจขยะและลูกน้ำยุงลายในบ้านเป็นประจำ

ค่า CI ,HI ในชุมชนลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน       1. ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมายผู้เกี่ยวข้อง       2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินการ       3. ประสานงานกับชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการหมู่บ้านและแต่งตั้งขึ้น       4. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านการประชุมระดับหมู่บ้าน       5. คณะกรรมการหมู่บ้านดำเนินนการในเขตรับผิดชอบ       6. ดำเนินการควบคุมตามสถานการณ์โรคเลือดออกแต่ละช่วงเวลา       7. สรุปผลกาดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตัวเอง
  2. ประชาชนมีการสำรวจขยะและลูกน้ำยุงลายในบ้านเป็นประจำ
  3. ทำให้อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 15:39 น.