กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2567
รหัสโครงการ L5248-01-67-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 77,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันป้องกันโรคและควบคุมโรคมาโดยตลอด อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลง ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีแนวโน้มการระบาดมากในช่วงฤดูฝน และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข  ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก เขตพื้นที่ หมู่ 8 และหมู่ 9 ตำบลปริก เป็นอีกหนึ่งพื้นที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 40 ราย คิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 1,839.08 ต่อแสนประชากร  (ที่มา : ทะเบียนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 ตำบลปริก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน จึงได้จัดทำโครงการ “ชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖6” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน    วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1๕ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี

2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ชุมชนและโรงเรียนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีการดำเนินงาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาสาเหตุในการแก้ปัญหาจัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับแนวทางการดำเนินงาน
  3. ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Big Cleaning Day ร่วมกับ อสม. แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบและเตรียมพื้นที่
  4. ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

- ในโรงเรียนบ้านหัวถนน และโรงเรียนบ้านยางเกาะ รวม 2 ครั้ง (ร่วมกับแกนนำนักเรียนและคณะครู) - ในชุมชนเขตพื้นที่เสี่ยงหมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 รวม 2 ครั้ง (ร่วมกับประชาชนทั่วไปและผู้นำชุมชน) 4. ร่วมกันสำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลาย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน , ในโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน และ ศาสนสถาน (วัด บาลาย ปอเนาะ) ทุกวันศุกร์ โดย อสม. และแกนนำนักเรียน 5. พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายก่อนเปิดเทอม ทั้ง 2 โรงเรียน รวมทั้งศาสนสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแนวทางควบคุมโรคติดต่อ 6. กรณีพบผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบดำเนินการสอบสวนโรค และควบคุมโรคทันทีทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมีตามมาตรการ 3-3-1 พร้อมทั้งเขียนรายงานสอบสวนโรคเฉพาะราย 7. ติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์การระบาดอย่างต่อเนื่อง
8. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  2. ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  3. ชุมชนและโรงเรียน ร่วมมือร่วมใจในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 16:01 น.