กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยชุมชน ปี2567
รหัสโครงการ L5248-01-67-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 69,695.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริจันทร์พร พลเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน และสังคม ตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก จะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง ๕-๙ ปี แต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖6 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วย 4,848 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 338.66 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต จำนวน 5 ราย(อัตราป่วยตายร้อยละ0.10) ในส่วนของอำเภอสะเดาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 767 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 617.98 ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคมคม 2566) ในเขตพื้นรับผิดชอบของรพ.สต.ควนเสม็ด มีผู้ป่วยไข้เลือดออก/สงสัยไข้เลือดออก จำนวน 30 คน คิดเป็นอัตราป่วย 598.88 ต่อแสนประชากร (ประชากรกลางปี 2,472 คน) จากการประเมินติดตามระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2566) พบเป็นพื้นที่เสี่ยงสีแดง หรือเสียงสูง เนื่องจากมีค่าดัชนี House Index (HI) หรือค่าเฉลี่ยจำนวนบ้านที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 11.15 ซึ่งเกินค่าดัชนี House Index (HI) มาตรฐาน ≥10 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) และค่าดัชนี Coutainer Index (CI) หรือ ค่าเฉลี่ยของภาชนะที่พบลูกน้ำในสถานที่ราชากร วัดหรือมัสยิด และอื่นๆ ร้อยละ 3.77 เกินค่าดัชนี Coutainer Index (CI) มาตรฐาน CI › 0 (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค) ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้พื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลปริก พื้นที่อำสะเดา และจังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงหรือพื้นที่สีแดงกระจายตัวเป็นบางช่วง ทำให้จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกยังคงมีอัตราการป่วยที่ลอยตัว ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง     จากปัญหาดังกล่าว โรคไข้เลือกออก ถือเป็นปัญหาที่ระบาดในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจากการขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากทุกภาคส่วน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการระบาดเพิ่มขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด จึงได้จัดทำโครงการไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยชุมชน ปี 2567 เพื่อมุ่งให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก รวมทั้งสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำในชุมชน เกิดการประสานงานกับทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่ชุมชนอันเข้มแข็งในด้านสุขภาพ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1๕ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง

2 เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้กับ ประชาชนในชุมชน
  • ค่า House Index (HI) < 10
  • อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ,ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย ผู้เกี่ยวข้องเพื่อรับแนวทางการดำเนินงาน 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ,ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป 3. ประชาสัมพันธ์วัน Big Cleaning Day ร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบและเตรียมพื้นที่ 4 ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
- เดินขบวนรณรงค์พร้อมด้วย ผู้นำชุมชน, ทีม SRRT เขต อบต. , กลุ่มประชาชนทั่วไป
- แกนนำประจำหมู่บ้าน, ทีม SRRT เขต อบต., กลุ่มปะชาชนทั่วไป ร่วมกันสำรวจ กำจัดลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน
5. สำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ โดยแกนนำอสม. 6. ลงพื้นที่ Big Cleaning Day ชุมชนพื้นที่ระบาด
7. กรณีพบผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบลงพื้นที่ ควบคุมไข้เลือดออก ภายใน 1 วัน พร้อมลงสอบสวนโรค
8. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และรอบบ้าน รัศมี 100 เมตร ทุก 7 วันเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ตั้งแต่ 1 รายขึ้นไปให้ติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคจนกว่า ค่า HI มีค่าเป็นศูนย์       หมายเหตุ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (House Index : HI) หมายถึง ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย คำนวนจาก = (จำนวนหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ / จำนวน หลังคาเรือนที่สำรวจ) × 100 (ค่าที่คาดหวัง HI < 10)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2 ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 3.ประชาชนทุกครัวเรือนร่วมมือในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 4.อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) และผู้นำชุมชน ,ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 16:11 น.