กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการอาบน้ำศพ (มายัต) และการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3070-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) ตำบลยาบี
วันที่อนุมัติ 23 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 18,145.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิหาซัน เจะปอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจัสมิล มุมินรุ่งเรืองเดช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.782,101.246place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วย คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) บ้านยาบีใต้ตำบลยาบี มีความประสงค์จะจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการอาบน้ำศพ (มายัต) และการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 เมื่อมีการเสียชีวิต เกิดขึ้นกันคนในชุมชน ตามหลักการของศาสนาอิสลาม สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้มีชีวิตอยู่นั้น คือ การจัดการศพ (มายัต) ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำศพ (มายัต) ทำความสะอาด หรือชำระสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ติดมากับศพ (มายัต) การจัดการศพ (มายัต) ให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะและหลักการตามศาสนาบัญญัติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากว่าผู้จัดการศพ (มายัต) ไม่มีความรู้ ในการจัดการศพ (มายัต) ให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ อาจนำไปสู่การติดเชื้อต่างๆ จากศพ (มายัต) หรือเกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคที่มากับศพ (มายัต) ก็เป็นได้ พิธีศพ (มายัต) ของอิสลามจะใช้วิธีการฝัง โดยปกติแล้วจะต้องฝั่งภายใน ๒๔ ชั่วโมง เพราะถือว่าถ้าไว้นานจะทำให้ผู้ที่มีชีวิตอยู่ต้องเสียใจเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นศพ (มายัต) ที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมือง การปฏิบัติต่อศพ (มายัต) ก่อนนำศพ (มายัต) ไปฝังนั้น จะมีการอาบน้ำทำความสะอาดศพ (มายัต) แล้วห่อด้วยผ้าขาว ต่อจากนั้นก็เป็นพิธีละหมาดให้แก่ผู้ตาย ซึ่งเรียกว่า ละหมาดญะนาซะห์ ซึ่งอาจจะทำที่บ้านของผู้ตาย หรือนำศพ (มายัต) ไปทำพิธีละหมาดให้ที่มัสยิดก็ได้ เมื่อมีการเคลื่อนศพ (มายัต) ผู้ที่นั่งอยู่หรือทำงานอยู่ในทางศพ (มายัต) ผ่าน จะยืนขึ้นเป็นการเคารพศพ(มายัต) และตามไปส่งศพ (มายัต) ถึงกุโบร์ (สุสาน) จากนั้นจึงทำการฝังศพ(มายัต) ดังนั้น คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในการอาบน้ำศพ (มายัต) และการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักศาสนาและตามหลักสุขลักษณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) และผู้ทำหน้าที่จัดการศพ (มายัต) ในชุมชน และกลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ (มายัต) การห่อศพ (มายัต) การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนา

๑.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ (มายัต) การห่อศพ (มายัต) การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนา

2 เพื่อให้คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) และผู้ทำหน้าที่จัดการศพ (มายัต) ในชุมชน และกลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักสุขลักษณะ และสามารถป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ (มายัต)

2.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักสุขลักษณะ และสามารถป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ (มายัต)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) และผู้ทำหน้าที่จัดการศพ (มายัต) ในชุมชน และกลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอาบน้ำศพ (มายัต) การห่อศพ (มายัต) การจัดการศพที่ถูกต้องตามหลักศาสนา ๒.คณะกรรมการประจำมัสยิดนูรุลฟุรกอน (สุเหร่า หมู่ที่ 1) และผู้ทำหน้าที่จัดการศพ (มายัต) ในชุมชน และกลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อในการจัดการศพ (มายัต) ตามหลักสุขลักษณะ และสามารถป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการศพ (มายัต)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 17:17 น.