กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเยาวชน(เสริมสุขภาพจิตดี ไม่บูลลี่ใคร)
รหัสโครงการ 67-L1512-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวัชระพงษ์ แดงเวชงาม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีปัญหาในสังคมเกิดขึ้นกับวัยรุ่นหลายด้าน และเป็นปัญหาในระดับประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหา ยาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาการใช้พฤติกรรมรุนแรงต่างๆ เช่น ถูกเพื่อนรังแก การด่าทอ  กลั่นแกล้ง แย่งชิงของ การข่มขู่ และการทำร้ายร่างกายเพื่อน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทั้งทางด้านตัวเด็ก ด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงของครอบครัวของผู้กระทำ ด้านลักษณะเศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาทางด้านอารมณ์ปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคม ทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรง       เพื่อให้วัยรุ่นได้ตระหนักถึงปัญหาในปัจจุบัน เช่น ปัญหาความเครียดจากการเรียน ปัญหาสารเสพติด ปัญหาการมีพฤติกรรมรุนแรง ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ และสามารถแสดงออกทางพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้วัยรุ่นได้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวทางปฏิบัติตัวกับปัญหา และแนวทางในการดําเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเกิดจากการขาดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุสําคัญจากปัญหาครอบครัว สภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ชักจูงไปในทางไม่ดี และตัวอย่างการใช้ความรุนแรงในสังคม และปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาของสังคมในปัจจุบันอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมเมือง ประกอบกับวัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเจริญเติบโต มีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ทําให้วัยรุ่นประสบปัญหามากมาย ที่ต้องเร่งให้การแก้ไข เพราะปัญหาในสังคมไทยมีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดผลเสียต่อตัวของวัยรุ่นเองครอบครัวสังคมและประเทศชาติซึ่งปัญหานี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่       สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองปางได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเยาวชน (เสริมสุขภาพจิตดี ไม่บูลลี่ใคร)” ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม ป้องกัน แนะนําแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถรับมือและจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม เพราะเด็กและเยาวชนคืออนาคตของชาติถือเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมและทําให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างทักษะและให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้เข้าอบรมให้มีสุขภาพจิตที่ดี
  1. ผู้เข้าอบรมความตระหนักถึงความสำคัญของการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและทักษะในการดูแลผู้อื่น
2 2. อบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตให้กับผู้รับการบอรมด้วยการส่งเสริมแนวคิดและพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่ผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง ๆ
  1. ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดและพฤติกรรมที่ไม่กลั่นแกล้งคนอื่น และกล้าที่จะตอบโต้ไปในทางที่ดีเมื่อเป็นฝ่ายถูกกระทำ
3 3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมผลิตสื่อที่ส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการกลั่นแกล้งเพื่อนในสถานที่ต่างๆผ่านสื่อออนไลน์และออฟไลน์
  1. ผู้เข้าอบรมโครงการมีความสามัคคีในหมู่คณะ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน อย่างมีความสุข มีจิตสาธารณะ ร่วมคิดร่วมทำ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. สภาเด็กและเยาวชนตำบลคลองปาง ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบ วิธีการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเยาวชน (เสริมสุขภาพจิตดี ไม่บูลลี่ใคร)
  2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. ประสานวิทยากรและกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ดำเนินกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ โดยวิทยากร จำนวน 2 วัน ตามเนื้อหาดังนี้   - กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวัยรุ่นในปัจจุบัน   - เรื่องการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของวัยรุ่น   - กิจกรรมสร้างทักษะและให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแล ให้มีสุขภาพจิตที่ดี
      - กิจกรรมส่งเสริมแนวคิดและพฤติกรรมที่ถูกต้องให้แก่ผู้เข้าอบรมผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง
  6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ
  7. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักถึงความสำคัญของการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและทักษะในการดูแลเพื่อนที่โดนกระทำ
  2. ผู้เข้าอบรมมีแนวคิดและพฤติกรรมที่ไม่กลั่นแกล้งคนอื่น และกล้าที่จะตอบโต้ไปในทางที่ดีเมื่อเป็นฝ่ายถูกกระทำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2567 13:52 น.