กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัยฟันดี มีใช้งาน สุขภาพดี อายุยืน ประจำปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2536-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปูโยะ
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสรยา มูสาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุ เป็นประชากรกลุ่มที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันเป็นกลุ่มเป้าหมายอีกกลุ่มหนึ่งที่ประสบปัญหาสุขภาพนานัปการซึ่งรวมถึงสุขภาพช่องปากที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการทำงานของระบบบดเคี้ยวส่งผลต่อภาวะโภชนาการและสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุโดยรวมปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือความรุนแรงของโรคในช่องปากในประชากรกลุ่มนี้จากการสำรวจของกองทันตสาธารณสุขในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2549 -2550 พบว่าปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 68.8 ซึ่งนอกจากจะเป็นผลจากพฤติกรรม เช่น การทำความสะอาดช่องปาก หรือจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ อาทิเช่นการสูบบุหรี่การเคี้ยวหมากแล้ว ยังเป็นผลกระทบจากโรคทางระบบบางโรค หรือการได้รับยารักษาโรคทางระบบ เป็นระยะเวลายาวนานอีกด้วย จากการสำรวจสภาวะช่องปาก ผู้สูงอายุจังหวัดรนราธิวาส พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปากด้วยโรคปริทันต์ปี 2560คิดเป็นร้อยละ56.46ซึ่งการป้องกันและการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรือรอยโรคใหม่ในช่องปาก เพื่อคงสภาพการใช้งานให้ได้ในวัยนี้ เป็นสิ่งจำเป็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเรื่องของการให้บริการรักษาและฟื้นฟูสภาพดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ทั้งโดยตัวผู้สูงอายุเอง หรือโดยผู้ดูแล จึงเป็นหัวใจสำคัญในการควบคุม ป้องกัน และส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดี จากการสำรวจสภาวะช่องปาก ปี2560 ในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปาก คิดเป็นร้อยละ 54.68ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะจึงได้ดำเนินโครงการ “ผู้สูงวัยฟันดี มีใช้งาน สุขภาพดีอายุยืน” ซึ่งมีกิจกรรมให้อบรมให้ความรู้ และบริการ ทันตกรรมผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุทุกท่าน ได้มีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น การมีฟันที่แข็งแรงสามารถใช้บดเคี้ยวได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และนำไปปรับใช้ในการสนับสนุน ให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในชีวิตประจำวัน อันจะนำไปสู่การลดความรุนแรงของโรคในช่องปาก ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดี สมวัย สามารถมีฟันใช้งาน โดยปราศจากความเจ็บปวด ตลอดอายุขัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น

ร้อยละผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีฟันที่สามารถใช้งานได้

ร้อยละผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีฟันที่สามารถใช้งานได้

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากตนเองได้

ร้อยละผู้สูงอายุสามารถตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากตนเอง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและมีฟันที่สามารถใช้งานได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถตรวจและประเมินสุขภาพช่องปากตนเองได้

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชมรมผู้สูงอายุเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน 2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 3. บุคลากรและวัสดุในการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน 2. สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี และอายุสาธิตย้อนกลับ 3. ให้ผู้สูงอายุทำแบบทดสอบวัดความรู้ก่อนและหลังให้ทันตสุขศึกษา

ขั้นประเมินผล 1. จากการทำ Pre-test – Post-test ในผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้น 2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก 3. จากการสังเกต ผู้สูงอายุสามารถแปรงฟันได้ถูกต้อง 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและสามารถเผยแพร่ความรู้ได้
  2. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560 14:33 น.