กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงาน บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียน 1 พ.ค. 2567 1 มิ.ย. 2567

 

1.ประชุมครั้งที่ 1 ชี้แจงรายละเอียดโครงการ งบประมาณและกิจกรรม ปรึกษาหารือวางแผนการดำเนินงานโครงการ

2.ประชุมครั้งที่ 2 รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม ปัญหาสุขภาพของนักเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไข
3.ประชุมครั้งที่ 3 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

 

คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไสใหญ่ ร้อยละ 100 เข้าร่วมประชุมและรับทราบการจัดกิจกรรมตามโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการ และเสริมสร้างสุขภาพที่ดี โรงเรียนบ้านไสใหญ่ ตามระเบียบวาระการประชุมที่กำหนด

 

สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน 1 พ.ค. 2567 1 มิ.ย. 2567

 

2.1. คัดเลือก อสม.น้อยในโรงเรียนจำนวน 10 คน โดยคณะกรรมการ
2.2. สร้างแกนนำ อสม.น้อย ในโรงเรียน เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังด้านสุขภาพ และอบรมให้ความรู้
2.3 แกนนำ อสม.น้อยร่วมกับคณะครู ติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและบันทึกผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง
2.4 แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้คณะครูทราบ พร้อมทั้งลงเยี่ยมบ้านนักเรียนและแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ
2.5 โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารคุณภาพให้กับนักเรียน

 

  • คัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 เพื่อเข้าร่วมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อสม.น้อย ในโรงเรียน จำนวน 10 คน
  • การจัดอบรมหลักสูตร อสม.น้อยในโรงเรียน โดยการทดสอบความรู้ก่อนการอบรมและประเมินผลหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับบทบาท อสม.น้อยคิดเป็นร้อยละ 60 และหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับบทบาท อสม.น้อยคิดเป็นร้อยละ 80
  • แกนนำ อสม.น้อย ร่วมกับคณะครูติดตามพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงและบันทึกผลเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 ครั้ง
  • แกนนำ อสม.น้อย รายงานผลการติดตามและแจ้งให้ครูและผู้ปกครองทราบ จากผลการรายงาน พบว่า นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 50 และนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ มีน้ำหนักลดลงคิดเป็นร้อยละ 20
  • โรงเรียนขอความร่วมมือจากร้านค้า สหกรณ์ จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพให้กับนักเรียน จากผลการดำเนินงาน พบว่า สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนบ้านไสใหญ่ จำหน่ายอาหารที่มีประโยชน์ให้กับนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 100 และร้านค้า รถสามล้อ หน้าโรงเรียน จำหน่ายอาหารที่มีประโยชน์ให้กับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น

 

ติดตามประเมินผล 1 พ.ค. 2567 1 มิ.ย. 2567

 

ทำการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกๆ 1 เดือน เป็นเวลา 4 เดือน

สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกภาวะโภชนาการ โดยอสม.น้อย

ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

  1. จากการสำรวจค่า BMI ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกๆ 1 เดือน เป็นเวลา 4 เดือน
      เดือนที่ 1 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 20
      เดือนที่ 2 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 30
      เดือนที่ 3 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 40
      เดือนที่ 4 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 50

  2. สรุปข้อมูลจากสมุดบันทึกภาวะโภชนาการ โดยครูและ อสม.น้อย
      เดือนที่ 1 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 20
    เดือนที่ 2 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 30
      เดือนที่ 3 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 40
      เดือนที่ 4 นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เทียบกับอายุ อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 50

3.ถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากผลการถอดบทเรียน
จุดแข็งคือ นักเรียนให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี เช่น กิจกรรมการออกกำลังกาย จุดอ่อนคือ นักเรียนบางคนยังไม่สามรถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทั้งหมด เนื่องจากขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อกลับถึงบ้าน จึงต้องใช้เวลาในการดำเนินการที่ยาวนานกว่านี้ ข้อเสนอแนะ ควรดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในด้านสุขภาพ

 

ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 3 อ (อาหาร ออกกำลังกายและอารมณ์ ) ให้กับนักเรียน 16 พ.ค. 2567 16 พ.ค. 2567

 

3.1 ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ (ลดอาหารหวาน มัน เค็ม) - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์ - ดูแล ควบคุมการรับประทานอาหารกลางวันนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักเกินเกณฑ์โดยเพิ่มและลดปริมาณอาหารตามกลุ่มที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

3.2. สร้างแกนนำนักเรียน เพื่อเป็นแกนนำในการออกกำลังกาย และทำกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนคนอื่นๆ

3.3 ส่งเสริมสภาวะที่ดีทางด้านอารมณ์ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ

  • จัดทำกิจกรรมเสริมสร้างสมาธิที่ดีให้กับนักเรียน เช่น นั่งสมาธิฟังนิทานฟังเสียงดนตรีบรรเลงในช่วงเวลาพักกลางวัน หรือก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 15 นาที ทุกวัน

  • จัดเวลาทำกิจกรรมทางกายที่เสริมสร้างสมาธิอื่นๆ เช่นงานประดิษฐ์ร้อยลูกปัด เต้นรำ ลีลาสกิจกรรมเข้าจังหวะเพลงในคาบวิชาชุมนุม

 

จัดกิจกรรมเสริมสร้างสมาธิที่ดีให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ เช่น นั่งสมาธิ ฟังนิทาน หรือฟังเพลง ดนตรีบรรเลง ในช่วงเวลาพักกลางวัน หรือก่อนกลับบ้านเป็นเวลา 15 นาทีทุกวัน โดยมีผลการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมคิดเป็นร้อยละ 90

 

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1 ก.ย. 2567 1 ก.ย. 2567

 

รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

 

รูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม