กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการธนาคารขยะชุมชนตำบลช้างเผือก
รหัสโครงการ 67-L2475-02-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลช้างเผือก
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรอสดี เจ๊ะมูดอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) คือ รูปแบบการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชน มีการคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยใช้หลักการของธนาคารมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สมาชิกนำขยะรีไซเคิลมาขาย ที่ธนาคาร โดยมีคณะทำงานธนาคารขยะหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกมาดำเนินการคัดแยกและชั่งน้ำหนัก คำนวณเป็นมูลค่าและบันทึกข้อมูลการขายลงสมุดคู่ฝาก โดยใช้ราคาที่คณะทำงานธนาคาร ขยะหมู่บ้าน/ชุมชนได้ประสานงานกับผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา รายได้จากการดำเนินการธนาคารขยะจะนำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการ และใช้ในส่งเสริมกิจกรรม และสวัสดิการของสมาชิกธนาคารขยะฯ ต่อไป ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลช้างเผือก ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างเผือกพิจารณาแล้วว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะรีไซเคิลในครัวเรือน และสนับสนุนให้มีแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) มาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้หลักการ 3rs คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ และรณรงค์สร้างความรับรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะที่สามารถรีไซเคิลไปขายเพื่อมีรายได้สู่ชุมชน และพัฒนาสู่การจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

30.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,000.00 0 0.00
5 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ 0 1,500.00 -
5 - 29 ก.พ. 67 บันทึข้อตกลงร่วมกันในการบริหารจัดการขยะ 0 1,250.00 -
5 ก.พ. 67 - 31 ม.ค. 67 ให้ความรู้การคัดแยกขยะและประชาสัมพันธ์โครงการธนาคารขยะ 0 17,150.00 -
5 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 การดำเนินการธนาคารขยะชุมชน 0 20,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะได้ถูกวิธี และสามารถลดปริมาณขยะในชุมชน
มีการจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2567 00:00 น.