กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพแม่ตั้งครรภ์และเยี่ยมแม่หลังคลอดปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2496-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมัน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 23,520.00
รวมงบประมาณ 23,520.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ทำให้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ออกทำงานนอกบ้าน ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อีกด้วย ซึ่งการพัฒนาคุณภาพของเด็กต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ ได้รับการดูแลและเฝ้าระวัง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตจาง ภาวะการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ ถ้าไม่ได้รับการดูแล และแก้ไขต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีขณะตั้งครรภ์แล้ว จะส่งผลกระทบต่อแม่และเด็ก ทำให้เกิดความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ ในเรื่องต่างๆ ที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ และการปฏิบัติตนต่างๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ การเตรียมตัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่แม่ทุกคนควรทราบถึงความสำคัญของการให้นมบุตรด้วยน้ำนมของตนเอง เพราะจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตที่ดี รวมถึงการดูแลตัวเอง หลังคลอด และการดูแลเด็กแรกเกิด จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ พบว่ามารดามีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดอายุน้อยกว่า 20 ปี และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (มาฝากครรภ์แรก) ร้อยละ 17.72, 13.63, 13.85 (ไม่เกิน ร้อยละ 10) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดซ้ำ ร้อยละ 33.33 , 50.00, 15.38 (ไม่เกินร้อยละ 30) อัตราการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 79.75 , 74.24, 94.26 (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีภาวะซีดตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์และการดูแลสุขภาพแม่ลูกหลังคลอด เพื่อให้เด็กที่อยู่ในครรภ์และที่จะเกิดมาในอนาคตได้รับการดูแลที่ถูกวิธีเพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต และยังเป็นการสร้างสายใยรักความผูกพันของครอบครัว จึงจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพแม่ตั้งครรภ์และเยี่ยมแม่หลังคลอดปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด

ทารกได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 100

2 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด(12 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 23,520.00                  
รวม 23,520.00
1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 23,520.00 0 0.00
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 6,000.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.อาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0 6,000.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 3.ค่าตอบแทนวิทยากร 0 3,000.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 4.ค่าวัสดุอบรม 0 7,800.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 5. ค่าป้ายไวนิล 0 720.00 -
  1. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหญิงตั้งครรภ์
  2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่ออนุมัติโครงการ
  3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ
  4. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย โดยประชาสัมพันธ์ให้มาขึ้นทะเบียนหญิงมีครรภ์ในพื้นที่ทั้งหมด
  5. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอด
  6. ออกเยี่ยมติดตาม/เฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดทุกราย
  7. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ตลอดจนทารก มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรง และสุขภาพจิตดี
  2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 10:46 น.