กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีตะโละกาโปร์ ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม ฝากครรภ์คุณภาพ ปลอดภัย ลดซีด ลดเสี่ยง ปี2567
รหัสโครงการ 67-L8420-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 27,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสมีณี ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.899161,101.37085place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
69.77
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
46.51
3 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)
8.00
4 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง
13.00
5 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
43.01
6 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
3.13
7 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
84.03

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว มีการตั้งครรภ์จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่สภาพสังคมปัจจุบันผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ไม่ว่างานในบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วยทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย การพัฒนาคุณภาพเด็กต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลหญิงมีครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก เพราะหากหญิงมีครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลและเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้วจะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดน้ำหนักตัวต่ำกว่า 2,500 กรัม ภาวะโลหิตจางการตกเลือดหลังคลอด เป็นต้น อีกทั้งปัจจุบัน พบว่า หลังจากคลอดแล้ว ทารกมักจะถูกมารดาทิ้งให้อยู่ในความดูแลของญาติ หรือผู้สงอายุในบ้าน ส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาภาวะสุขภาพต่างๆ เช่น เด็กเกิดภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักน้อย เด็กผอม ขาดการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ขาดฉีดวัคซีน) ฟันผุก่อนวัย รวมถึงปัญหาการ ศึกษาของเด็ก ซึ่งอาจจะส่งผลถึงอนาคตของเด็กด้วย จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า ปัญหาที่ยังพบเจอได้ทุกๆ ปี เช่น การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/วัยเรียน (อายุต่ำกว่า 20 ปี),การฝากครรภ์ล่าช้า (ก่อน 3 เดือน/12 สัปดาห์) ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ตกเลือดหลังคลอด ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม รวมถึงตัวชี้วัดใหม่ คือ เด็กอายุ 6 เดือน มีภาวะโลหิตจาง มากกว่าร้อยละ 50 ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าว มาจากทั้งตัวหญิงตั้งครรภ์เอง การขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความตระหนักในการดูแลตนเองและครอบครัวที่มีส่วนในการดูแล รวมถึงชุมชนและเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เข้มแข็ง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการฝากครรภ์ปลอดภัย ลดซีด ลดเสี่ยง ปี 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น, ส่งเสริมและสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด ลดความเสี่ยง/อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างคลอดและหลังคลอด เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

69.77 80.00
2 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางลดลง

13.00 10.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

46.51 75.00
4 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

8.00 7.00
5 เพื่อลดเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

3.13 1.00
6 เพื่อเพิ่มเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือน ที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

84.03 100.00
7 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด

43.01 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,250.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทีมงานดำเนินการ จำนวน 60 คน 0 0.00 -
1 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร” (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-19ปี จำนวน 50 คน 0 7,650.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ลดซีด ลดเสี่ยง” ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 60 คน 0 8,100.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมพ่อแม่ “โรงเรียนพ่อแม่1,2” ให้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ จำนวน 120 ราย (2 รุ่น) 0 6,100.00 -
1 - 31 ส.ค. 67 จัดเวทีถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลสู่ชุมชน ประเมินความพึงพอใจ จำนวน 120 คน (2รุ่น) 0 5,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จมีคุณภาพและยั่งยืน รวมถึงหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลในระยะการตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ และในรายที่มีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการของรัฐตามมาตรฐานการส่งต่อ ตลอดจนส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้คลอดกับสถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น เพื่อให้มารดาและทารกนั้นคลอดอย่างปลอดภัย และช่วยลดอัตราตายในมารดาและทารก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 13:39 น.