กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการออกกำลังกายด้วยการร่ายรำไท้เก๊ก สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัย
รหัสโครงการ 67-L7252-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ (ไท้เก๊ก) เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 27 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2567
งบประมาณ 40,610.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรรณา กลิ่นมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชมรมผู้สูงอายุ (ไท้เก๊ก) เทศบาลเมืองสะเดา จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนได้มากขึ้นตามความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่า มีอิสระในการดำเนินชีวิต มีโอกาสในการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ในการดำรงชีวิต และเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุในชมรม ซึ่งจัดให้มีการออกกำลังกาย ณ ลานกีฬาที่ว่าการอำเภอสะเดาทุกวัน แต่ละวันจะมีสมาชิกมาร่วมออกกำลังกาย เฉลี่ยประมาณ 60 คน จากสมาชิกทั้งหมด ๑๒๔ คน วันจันทร์ถึงวันศุกร์จะออกกำลังกายด้วยการร่ายรำไท้เก็ก ประกอบด้วย การบริหารไขข้อ ๒๕ ท่า ไท้เก๊กลมปราณ ๑๘ ท่า ชุดที่ 1 ไท้เก็กลมปราณ ๑๘ ท่า ชุดที่ 2 และไท้เก็กลมปราณ ๑๘ ท่า ชุดที่ 3 ส่วนวันเสาร์และวันอาทิตย์จะออกกำลังกายด้วยการร่ายรำไท้เก๊ก ประกอบด้วย การบริหารไขข้อ ๒๕ ท่า ไท้เก๊กลมปราณ ๑๘ ท่า ชุดที่ ๑ ไท้เก๊กลมปราณ ๑๘ ท่า ชุดที่ ๑ กายบริหารขี่กง "ปาต้วนจิ่ง" และรำไม้พลอง แต่การออกกำลังกายด้วยการร่ายรำไท้เก็กที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน เป็นไท้เก๊กแบบ exercise และแบบเน้นลีลา ที่ใช้แรงภายนอกในการขับเคลื่อนกระบวนท่า ยังไม่ได้เข้าถึงการใช้พลังภายใน คณะกรรมการดำเนินการชมรมฯ จึงเสนอแนวคิดที่จะให้สมาชิกได้มีการฝึกฝนไท้เก๊กแบบไท่จี๋ฉวน ซึ่งเป็นการร่ายรำในชั้นที่สูงขึ้น ยากขึ้น ต้องใช้พลังภายในในการขับเคลื่อนลมปราณให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ การรำไท่จี๋ฉวน ๒๔ ท่า และรำพัดกังฟูเพื่อนำมาใช้ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชมรม ในทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุในชมรมได้มีสุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น การร่ายรำไท้เก๊ก มีผู้อาวุโสในวงการไท้เก๊กของประเทศจีนได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ไท้เก๊กแบบ exercise เป็นการร่ายรำไท้เก๊กที่ต้องใช้สติประคอง โดยกำหนดลมหายใจเข้าลึก ออกยาว ไปพร้อมกับท่ารำโดยใช้แรงภายนอกในการขับเคลื่อนกระบวนการท่าต่าง ๆ แต่ยังไม่ได้เข้าถึงการใช้พลังลมปราณให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 2) ไท้เก๊กแบบเน้นลีลา เป็นการร่ายรำมุ่งเน้นไปที่ท่าทางการร่ายรำที่สวยงาม ยังคงใช้แรงภายนอกในการขับเคลื่อนกระบวนท่า มิได้ใช้ความรู้สึกของการใช้แรงภายใน และ ๓) ไท้เก๊กแบบไท่จี๋ฉวน เป็นการร่ายรำไท้เก๊กที่ต้องอาศัยการฝึกปรือ สมาธิ เน้นถึงความรู้สึกพลังภายในในการขับเคลื่อนลมปราณให้ไหลเวียนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มิได้ใช้แรงภายนอก ประโยชน์ของการร่ายรำไท้เก๊ก ลักษณะเด่นของการร่ายรำไท้เก๊ก คือ การเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นุ่มนวล ต่อเนื่อง ไม่ทำให้เหนื่อยหอบเหมือนกิจกรรมหรือการออกกำลังกายในรูปแบบอื่น การร่ายรำไท้เก๊กหากทำถูกต้องและทำเป็นประจำ จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ ๑.เพิ่มความแเข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อส่วนบน กล้ามเนื้อส่วนล่าง กล้ามเนื้อแกนกลางของหน้าท้องและแผ่นหลัง และเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวสำหรับผู้ที่ร่ายรำไท้เก๊กอยู่เป็นประจำ 2.มีพัฒนาการในการทรงตัว การร่ายรำไท้เก๊กจะทำให้มีพัฒนาการในการรับรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ประสาทของหูชั้นในและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ทำให้ร่างกายมีการทรงตัวดี ลดการหกล้มในผู้สูงอายุได้ 3.ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ทำให้เลือดมีการสูบฉีดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย กระตุ้น ให้ร่างกายได้สร้างภูมิต้านทานมากขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง ไม่เหนื่อยง่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ทำให้รูปร่างสวยงามขึ้น ช่วยฟื้นฟูร่างกาย ป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ป้องกันโรคกระดูกผุ ป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองและหัวใจตีบต้นเร็ว รักษาโรคความดันโลหิต ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ มีการเคลื่อนไหว ลดอาการข้อต่อไม่ยึดติด และหากมีการหายใจที่ถูกต้อง จะทำให้ปอดได้รับออกชิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปอดแข็งแรง เป็นต้น 4.ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ เช่น ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส ลดความตึงเครียด เพิ่มสมาธิในการทำงานมากขึ้น มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้หลับสบายหรือนอนหลับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายด้วยการร่ายรำให้เก๊ก ทั้ง 3 ประเภท ต่างก็มีประโยชน์ต่อร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่จะให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อร่างกายแล้ว ต้องร่ายรำแบบมีลมปราณหล่อเลี้ยงสุขภาพ คือ ไห้เก็กแบบไท่จี๋ถวน ที่ทำให้ร่างกายไห้รับการหล่อเลี้ยงบำรุงจากพลังลมปราณที่ขับเคลื่อไหลเวียนไปเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ส่วนการออกกำลังกายอีกรูปแบบหนึ่ง คือ รำพัดกังฟู เป็นการใช้พัดและศิลปะการแสดงมาผสมผสาน กับกระบวนทำรำให้เก๊กทั้ง ๓ แบบ ทำให้ลีลาการแสดงมีความสง่งาม แข็งแกร่งผสมความอ่อนช้อยอย่างลงตัว การออกกำลังกายในรูปแบบนี้มีความยากขึ้น ผู้ฝึกต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมและต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเปลี่ยนท่ารำเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้ ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชมรมผู้สูงอายุ (ให้เก๊ก) เทศบาลเมืองสะเดา จึงได้จัดทำโครงการออกกำลังกายด้วยการรำพัดกังฟู สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจใน ความหมายของกระบวนท่าต่าง ๆ และฝึกฝนการร่ายรำในทุกกระบวนท่าอย่างถูกต้องและมีความปลอดภัยกับร่างกาย เมื่อมีความมั่นใจและเกิดความชำนาญแล้ว สามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกายของชมรมผู้สูงอายุ (ใท้เก๊ก) เทศบาลเมืองสะเดา ได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ อันจะทำให้การออกกำลังกายได้ผลดีมีประสิทธิภาพสูงสุด สุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มาร่วมออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

2 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และฝึกฝนการร่ายรำในกระบวนท่าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและมีความปลอดภัยกับร่างกาย สามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกายให้มีผลดีต่อสุขภาพเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และร่างกายมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๕.1 ขั้นตอนการเตรียมการ     - ประชุมคณะกรรมการดำเนินการซมรมฯ สรุปความต้องการเพื่อการจัดทำโครงการ   -สำรวจผู้สูงอายุในชมรมหรือผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการ   - จัดทำโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา   - นำข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมมาประเมินผลก่อนการดำเนินโครงการฯ ๕.๒ ขั้นตอนการดำเนินการ       - กำหนดจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมรำไท่จี๋ฉวน ๒๔ ท่า ประกอบด้วย กลุ่มแกนนำสุขภาพชมรมฯ ,สมาชิกชมรมฯ และ ผู้สูงอายุที่สนใจ จำนวน 50 คน
2) กิจกรรมรำพัดกังฟู กลุ่มแกนนำสุขภาพชมรมฯ,สมาชิกชมรมฯ และผู้สูงอายุที่สนใจ จำนวน
45 คน
  - กำหนดวันและเวลาในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ     - ประชุมคณะกรรมการดำเนินการชมรมฯ เพื่อวางแผน และมอบหมายผู้รับผิดชอบในการดำเนิน     โครงการฯ   - ประสานวิทยากรและสถานที่ที่ใช้ในการอบรมและฝึกออกกำลังกาย   - จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินโครงการ   - ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ๕.๓ สรุปผลการดำเนินโครงการ เสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตา เพื่อรับทราบ ๕.๔ การติดตามประเมินผล   - ประเมินผลจากการสังเกต   - ประเมินผลจากข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

4.1 ผู้สูงอายุในชมรมได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง และมาร่วมออกกำลังกายกับ     ชมรมฯ มากขึ้น 4.๒ ผู้สูงอายุในชมรมให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม     และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ๔.๓ ผู้สูงอายุในชมรมมีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกฝนการร่ายรำในกระบวนท่ได้อย่างถูกต้องและมี     ความปลอดภัยกับร่างกาย สามารถนำไปใช้ในการออกกำลังกายให้เกิดผลดีมีประสิทธิภาพสูงสุดสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 14:00 น.