กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
รหัสโครงการ 67-L7252-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการสังคม
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 23 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2567
งบประมาณ 22,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมชาย ชูเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 10-19 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้ การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วย การสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย   การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชน    เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 14 พ.ศ.2562) มาตรา 50(6)(7)        และพรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ.2542 มาตรา 16(10)(19) และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2569) ที่เน้นการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย  จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทราบถึงหน่วยงานที่ให้คำปรึกษากรณีเกิดเหตุการณ์ตั้งครรภ์ไม่พร้อม    เพื่อจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และสร้างกระแสในการปรับทัศนคติ ค่านิยมเรื่องเพศที่เหมาะสม และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน

 

2 เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม

 

3 เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและให้มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต

 

4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะด้านเพศศึกษา

 

5 เพื่อส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการใช้ชีวิตเพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

5.1 เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง วางแผนการดำเนินงาน 5.2 ประสานงานและส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการสถานศึกษา เพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย
5.3 ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นเวลา 1 วัน
4.4 สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.๑ ผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรให้แก่เยาวชน   10.๒ ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะชีวิตในการป้องกันตัวเอง ทักษะการคิด การวิเคราะห์ ทักษะการต่อรอง ทักษะการปฏิเสธ และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันท้องไม่พร้อม   10.๓ ผู้เข้าร่วมอบรมมีภาคภูมิใจในตนเอง และให้มีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต   10.๔ ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะด้านเพศศึกษา   10.๕ ผู้เข้าร่วมอบรมมีทักษะการใช้ชีวิต มีเป็นเกาะป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวันอันควร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 15:12 น.