กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้านตำบลจอเบาะปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้านตำบลจอเบาะปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2496-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมัน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 29,520.00
รวมงบประมาณ 29,520.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆของประชาชนคนไทย สำหรับในประชากรสตรีโรคมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนมากจะเกิดในสตรีมากกว่าเพศชายเนื่องจากอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีมีความซับซ้อนมากกว่าเพศชายพบว่าโรคมะเร็งปากมดลูก พบมากในสตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของสตรี รองลงมาคือมะเร็งเต้านม ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาสาธารณสุข ดังนั้นการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนการสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองด้วยการตรวจ Pap smear เพื่อค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในมาตรการควบคุมโรคดังกล่าว และสถานบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการรณรงค์ สตรีกลุ่มอายุเป้าหมายต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่า ร้อยละ 20 และจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำสตรีในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกขึ้น โดยตรวจคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกๆ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพื่อนำมาใช้ประจำ ณ สถานบริการสาธารณสุขของตำบล จอเบาะ เพื่อทำให้การดำเนินการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสุขภาพและแกนนำสตรีในชุมชนในการป้องกันโรคมะเร็ง

แกนนำสตรีสุขภาพและแกนนำสตรีในชุมชนมีศักยภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสามารถประชาสัมพันธ์ความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้าน

2 2.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ Pap smear ตามเป้าหมาย ร้อยละ 20 และตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมให้ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสุขภาพ,แกนนำสตรี และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(12 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 29,520.00                  
รวม 29,520.00
1 กิจกรรมให้ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสุขภาพ,แกนนำสตรี และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 29,520.00 0 0.00
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับแกนนำสุขภาพและกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี 200 12,000.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับแกนนำสุขภาพและกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี 0 12,000.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 3.ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 4. ค่าป้ายไวนิล 0 720.00 -
12 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 5. ค่าวัสดุอบรม 0 3,000.00 -

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง 2.ร่วมกันกำหนดเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ 3.อบรมแกนนำสุขภาพและสตรี การอภิปรายกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก ช่วยให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น ไม่เน้นการนั่งฟังบรรยาย 4.จัดตั้งสตรีในกลุ่มอายุดังกล่าวและตัวแทนชุมชนเป็นคณะทำงานประสานงานโครงการในแต่ละหมู่บ้าน 5.จัดมุมให้ความรู้ /สาธิต (ตรวจเต้านม) นำเสนอด้วยวีดีทัศน์ สถานการณ์ ปัญหา เพื่อให้เห็นความสำคัญของโรคมะเร็งและการป้องกัน 6.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการติดตามดูแล/รักษา ได้อย่างถูกต้อง 7.ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ
8.ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายในชุมชน 9.สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำสุขภาพและแกนนำสตรีในชุมชนมีศักยภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และสามารถประชาสัมพันธ์ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหมู่บ้าน 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจ Pap smear ตามเป้าหมาย ร้อยละ 20 และมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 15:32 น.