กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L7252-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 23 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสมใจ จางวาง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมยา หวังจิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 155 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการไข้หลังจากถูกยุงลายที่มีเชื้อกัดประมาณ 5 – 8 วัน โดยโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบในเด็กช่วงอายุ 5 – 14 ปี และมักมีการระบาดในช่วงฤดูฝน เพราะมียุงเพิ่มมากขึ้น ยุงลายอาศัยอยู่ในอาคาร และบริเวณรอบๆอาคาร บ้านเรือน โดยเกาะพักอยู่ตามที่มืด อับชื้น และดูดกินเลือดคนเวลากลางวัน โรคติดต่อนำโดยยุง นอกจากโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังมีโรคชิคุนกุนยาโรคมาลาเรีย และโรคเท้าช้าง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวได้ ซึ่งจากสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในระดับประเทศ ในปีพ.ศ.2566 ไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 213 ราย มากกว่าปี พ.ศ.2565 ถึง 3.8 เท่า จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกดังกล่าว พบว่าข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดาในปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563 – 2565) ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก แต่มีโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาได้ในทุกชุมชน และจำนวนผู้ป่วยมีจำนวนลดลง ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2564 พบจำนวนผู้ป่วย 12 ราย ปี พ.ศ.2565 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จำนวน 6 ราย และในปี พ.ศ 2566 มีจำนวนไข้เลือดออก 213 คน และฉี่หนู 2 คน ซึ่งหลังจากได้รับข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ควบคุมโรค ร่วมกับอสม.ในชุมชน ลงพื้นที่ไปยังบ้านผู้ป่วยเพื่อสอบสวนโรค ค้นหาสาเหตุการติดต่อของโรค และดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายให้กับที่อยู่ของผู้ป่วย และบริเวณรอบๆบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร สำหรับกรณีผู้ป่วยที่เป็นนักเรียน ได้มีการให้บริการพ่นหมอกควันในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดาเช่นกัน หากนักเรียนซึ่งเป็นผู้ป่วย ไม่ได้เรียนในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา เจ้าหน้าที่งานควบคุมโรคจะประสานงานกับครูอนามัยโรงเรียนเพื่อให้เจ้าของพื้นที่ดำเนินการควบคุมโรคต่อไป ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา จึงทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานซึ่งดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีการจัดอบรมให้ความรู้ และเน้นให้ประชาชนในชุมชน รวมทั้ง ครูอนามัยในโรงเรียน และนักเรียน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองสะเดา เห็นความสำคัญและชักนำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุง และป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุง ลดลง

2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุง อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1) ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนรายละเอียดโครงการ 2) เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ 3) ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
4) ดำเนินโครงการ โดยมีกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุง ในชุมชน โดยประสานงานกับวิทยากรเพื่อเตรียมดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน, ตัวแทนอสม. ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ทั้ง 27 ชุมชน ตลอดถึงนักเรียน ครูอนามัยประจำโรงเรียนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อสร้างเสริมศักยภาพในด้านการตระหนักถึงความอันตรายของโรค การป้องกันและควบคุมโรค การพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลาย รวมทั้งการรับผิดชอบต่อสังคม ในแง่ของการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ไม่ให้ที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง อันทำให้เกิดโรคกับคนในชุมชนซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ส่งเสริมความรู้ ให้มีความรู้ในการดูแลตัวเองและนำความรู้ไปช่วยเหลือผู้อื่นในชุมชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ ไวนิล หรือประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อโซเชียลเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก เพื่อสร้างความตระหนัก รวมทั้งขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำในพื้นที่บ้าน ที่อยู่อาศัยของตนเอง กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning Day) ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา ทั้ง27 ชุมชน เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยความร่วมมือของแกนนำชุมชน โรงเรียน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยวิธี ดังนี้ - ทางกายภาพ โดยให้ชุมชนร่วมกับโรงเรียน ร่วมกันดำเนินการสำรวจ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน พร้อมแจกแผ่นพับและแบบบันทึกการสำรวจลูกน้ำประจำบ้านทุกครัวเรือน - ทางเคมี โดยใส่สารเคมี ทรายทีมีฟอสในภาชนะเก็บน้ำใช้ในครัวเรือน บ้าน วัด มัสยิด โรงเรียน และพ่นเคมีกำจัดยุงลายให้ครอบคลุมในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสะเดา - ทางชีวภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอม การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง กิจกรรมที่ 5 กรณี ที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุง เกิดขึ้นในพื้นที่ ใช้มาตรการ 3-1-1 ให้ปฏิบัติดังนี้     5.1 ทันที ที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือด/โรคติดต่อนำโดยยุง ออกรพ.จะต้องแจ้งให้พื้นที่ทราบภายใน 3 ชั่วโมง
5.2 หลังจากรับทราบว่ามีผู้ป่วยเกิดขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง (1 วันหลังจากได้รับข้อมูลการพบผู้ป่วย) ต้องเข้าดำเนินงานควบคุมโรคบ้านผู้ป่วย (มอบสเปรย์กำจัดยุง / ยาทากันยุง /ค้นหาสาเหตุการเกิดโรคสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย) 5.3 ภายใน 1 วัน ต่อมาทีมพ่นสารเคมีให้บริการพ่นเคมีกำจัดยุงบ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วยเพื่อกำจัดยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค   5.4 พ่นสารเคมีกำจัดยุง ซ้ำใน 7 วัน พื้นที่เดิม และภายใน 14 วัน กรณีมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่เดิม   5.5 จัดซื้อเวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์ในการป้องกันควบคุมโรคให้เพียงพอ 5) สรุปผลการดำเนินโครงการ
6) รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตัวแทนคณะกรรมการชุมชน ,ตัวแทน อสม. ทั้ง 27 ชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ตัวแทนนักเรียนรวมทั้งผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีแรงจูงใจที่จะได้รับความรู้จากการอบรมโดยมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประชาชนในชุมชนในเขตพื้นที่ทม.สะเดา มีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก การป้องกันและควบคุมโรค และนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ประชาชนในเขตพื้นที่ทม.สะเดา มีส่วนร่วมในกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning Day) และตระหนักถึงการป้องกันและควบคุมโรคฯ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว โดยความร่วมมือของแกนนำชุมชน และอสม. และประชาชนในพื้นที่ ควบคุมการแพร่ระบาด และป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก/โรคติดต่อนำโดยยุงได้อย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2567 15:59 น.