กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตำบลนานาค ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2483-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิสมะแอ มะซง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนานาค อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.09708,102.00961place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ 0-5 ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน อาทิเช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น
จากสถานการณ์โรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง กรณีระบาด ปี 2556 พบผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด จำนวน 324 คน โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยมาที่สุด คือ จังหวัดปัตตานี จำนวน 194 คน รองลงมา จังหวัดนราธิวาส จำนวน 76 คน จังหวัดยะลา จำนวน 52 คน และจังหวัดสงขลา จำนวน 2 คน ตามลำดับ เปอร์เซ็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด คือ จังหวัดนราธวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 2.63, 1.92, 1.03 ตามลำดับ สาเหตุที่มีผู้ป่วยเกิดโรคไอกรนพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากเด็กที่อายุ แรกเกิด-4 ปี ไม่ได้รับวัคซีนตามเกนฑ์อายุที่ควรจะได้รับวัคซีน
จากสถานการณ์โรคไอกรน จังหวัดนราธิวาส (ข้อมูลตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567) พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 267 ราย รักษาหายแล้ว 258 ราย กำลังรักษาอยูที่โรงพยาบาล 5 ราย เสียชีวิตสะสม 3 ราย อำเภอที่มีผู้ป่วยสงสัย/ยืนยันมากที่สุด คือ รือเสาะ จำนวน 58/21 ราย บาเจาะ จำนวน 19/32 ราย เจาะไอร้อง จำนวน 21/7 ราย ระแงะ จำนวน 19/5 ราย เมืองนราธิวาส จำนวน 7/6 ราย แว้ง จำนวน 6/4 ราย จะแนะ จำนวน 5/5 ราย สุไหงปาดี จำนวน 4/3 ราย ยี่งอ จำนวน 5/1 ราย สุคิรินทร์ จำนวน 3/3 ราย สุไหงโก-ลก จำนวน 3/1 ราย ศีรศาคร จำนวน 3/0 ราย ตากใบ จำนวน 1/0 รายตามลำดับ ซึ่งจากปัญหาการระบาดของโรคไอกรนข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า อำเภอตากใบ เป็นพื้นที่เสี่ยงที่อาจจะเกิดการระบาดของโรคไอกรนได้ เนื่องจากอำเภอใกล้เคียงที่ติดกับอำเภอตากใบ มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้ว
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค ในปี 2566 รพ.สต. นานาค มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 254 คน ซึ่งมีเด็กที่ต้องได้รับวัคซีนให้มีความครอบคลุมตามเกณฑ์อายุทั้ง 4 ไตรมาสจำนวน 133 จำนวน คนแยกเป็น เด็กอายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี จำนวน 45 คน, 68 คน, 68 คน และ 73 คน ตามลำดับ เด็กที่มารับวัคซีนตากเกณฑ์อายุ คิดเป็นร้อยละ 82.22, 77.94, 80.88 และ 79.45 ตามลำดับ จากการจัดบริการคลินิกเด็กดี 2 ครั้งต่อเดือน มีการนัดเด็กอายุ 0-5 ปี ประมาณเดือนละ 50-60 คน แต่ยังพบอัตราการมารับวัคซีนไม่ตรงตามนัด 120 ครั้งต่อปี เฉลี่ยเดือนละ 10 ครั้ง ซึ่งเสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามความครอบคลุม ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ผู้ปกครองยังไม่ตระหนัก ไม่เข้าใจถึงการระบาด และความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมไปถึงการได้รับข่าวสารที่ผิดๆเกี่ยวกับยาวัคซีนแต่ละชนิดจากโซเซียลเน็ตเวิร์ค ส่งผลทำให้มีการติดตามแบบ เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อภาระงาน และส่งผลต่อความครอบคลุมในการรับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ทั้งนี้เพื่อให้เริ่มเกิดความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนที่ถูกต้องจึงเน้นในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มความครอบคลุมในการรับวัคซีนในอนาคต รวมไปถึงการป้องกันอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค จึงได้จัดโครงการ เด็กน้อยสุขภาพดี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตำบลนานาค ปี 2567 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนมากขึ้น 2. เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
  2. เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบชุดตามเกณฑ์อายุ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมชี้แจง อสม. และแกนนำหมู่บ้านเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนานาค 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รวบรวมข้อมูลประวัติการรับวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุการไม่มารับวัคซีนตามนัดของเด็กอายุ 0 – 5 ปี 0 0.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน ผลกระทบและความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 0 15,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนมากขึ้น
  2. เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.