กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยขาไถ
รหัสโครงการ 67-L2974-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโนรี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.719,101.199place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 28 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กในวัย 2-4 ปี ธรรมชาติของเด็กจะเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว การทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติในช่วงเช้าที่สถานศึกษาจะมีกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ทำการเคลื่อนไหวเข้าจังหวะประมาณ 20 นาที เพื่อทำให้ร่างกายของเด็กพร้อมที่จะเรียนหนังสือ ทำกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างคล่องแคล่ว ดังนั้นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาร่างกายของเด็กให้เจริญเติบโตแข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันสำหรับเด็ก โดยครูจะเป็นผู้หากิจกรรมเล่นกับเด็ก ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทรงตัว การเดิน การวิ่ง การกระโดด การคลาน การนอน การเอียงตัว ฯลฯ เพราะจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างการประสานงานของระบบประสาทส่วนกลางกับกล้ามเนื้อ ส่งผลให้มือ เท้า ตา เคลื่อนไหว สัมพันธ์กัน
ธรรมชาติของเด็กๆ อายุระหว่าง 2-4 ปี จะใช้ขาไถจักรยานก่อนที่จะใช้ขาปั่นจักรยาน ฉะนั้นจักรยาน BALANCE BIKE จะมาแทนจักรยาน 3 ล้อและจักรยานที่มี ล้อพ่วงข้าง ซึ่งเด็กจะมีความมั่นใจในการเล่นปราศจากความกลัว โดยให้เด็กใช้สองเท้าทั้งสองข้างยันพื้น และก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมจักรยานด้วยตนเอง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เด็กสามารถฝึกการทรงตัวได้อย่างถูกวิธีตั้งแต่แรกเริ่ม อีกทั้งยังช่วยเสริมทักษะ ด้านกีฬา ความคิด การมองเห็น การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า ศาสตร์สัมพันธ์ุของตา มือ-เท้า และ ซ้าย ขวา บน ล่าง การพัฒนาของกล้ามเนื้อ ฉนั้นจักรยานทรงตัว จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นของเด็ก ก่อนที่จะไปถึงการปั่นจักรยาน การเล่น จักรยานขาไถ BALANCE BIKE เด็กๆ จะได้รับเสริมทักษะและพัฒนาการคือ 1. การมองเห็นภาพ 3 มิติ เด็กๆ ที่เล่น BALANCE BIKE จะสามารถแยกแยะระยะทางใกล้ไกลได้ดีกว่าเด็กๆ ทั่วไปเพราะเด็กๆ ที่เล่นจะเดินได้เร็วกว่าเด็กๆ ที่เดิน หรือวิ่งปกติ จึงทำให้ประสาทการมองเห็นเร็วด้วยเช่นกัน 2. การมองเห็นสีและการแยกแยะสีต่างๆ รอบตัว เพราะเด็กๆ ที่ขี่จักรยานผ่านสีต่างๆ รอบตัวที่เร็วกว่า จึงแยกแยะสีได้ดีด้วยเช่นกัน 3. การขยับมือและแขน การขี่จักรยาน BALANCE BIKE จะต้องใช้มือในการบังคับทิศทางจึงทำให้ร่างกายท่อนบนกับมือและแขนได้ทำงานประสานกันข้อนี้พัฒนาการจะมาจากการที่เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรรมอย่างอื่นไปพร้อมๆกันด้วย 4. การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ของขาทั้งขาจนขึ้นมาถึงหลัง การเล่นจักรยานBALANCE BIKE จะมีส่วนช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่มากที่สุด 5. การยืนตัวตรง ส่งผลมาจากกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ที่แข็งแรงจึงทำให้การยืนและเดินตัวตรง จึงทำให้เด็ก ๆ มีบุคลิกที่ดี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ศูนย์เด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจ อารมณ์ มีความเบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ เคารพกฎระเบียบ กติกาด้วยกิจกรรมจักรยานขาไถ Balance Bike เพราะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ทุกด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ให้แข็งแรง เป็นการฝึกการทรงตัว รวมทั้งช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.2 ขั้นดำเนินการ/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม 2.2.1 จัดเตรียม/จัดทำสนามสำหรับให้เด็กได้ทำกิจกรรมขาไถ โดยให้เด็กได้เล่นแบบอิสระและแบบเนิน Ramp ตลอดจนการเล่นผ่านอุปกรณ์สนาม มีสีสัน ที่จะช่วยพัฒนาการมองเห็นของเด็กๆ เช่น มีสีสันหลากหลายของแม่สี แดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ป้ายจราจร ความสูงต่ำของเนิน เพื่อเสริมทักษะการควบคุมรถ 2 ล้อได้ดีขึ้น
2.2.2 จัดกิจกรรมจักรยานขาไถ หรือ Balance Bike โดยบูรณาการกิจกรรมเข้ากับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมกลางแจ้ง จำนวน 3 วัน ( วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ ) โดยก่อนทำกิจกรรมครูมีการศึกษาสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม และข้อจำกัดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก คำนึงถึงความปลอดภัยก่อนการทำกิจกรรม จักรยานขาไถหรือ Balance Bike ตามแผนการจัดประสบการณ์ที่ได้บูรณาการร่วมกับกิจกรรมประจำวัน 2.2.3 จัดกิจกรรมจักรยานขาไถร่วมกับการส่งเสริมวินัยทางจราจร เพื่อให้เด็กรู้จักความปลอดภัยในการเดินทาง เครื่องหมายจราจร ไฟจราจร ทางม้าลาย ความปลอดภัยในการใช้รถ ใช้ถนน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เชิงปริมาณ 3.1 เด็กนักเรียนอายุ 2 - 4 ปี จำนวน 28 คน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลควนโนรีเข้าร่วมโครงการหนูน้อยขาไถ ( Balance Bike )
เชิงคุณภาพ 3.2 เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลควนโนรี มีผลการประเมินพัฒนาการตามจุดประสงค์/ตัวชี้วัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 3.3 เด็กและผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2567 14:04 น.