กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปูยุดใส่ใจ เพื่อคัดกรองวัณโรค ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3017-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2567 - 15 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 เมษายน 2567
งบประมาณ 31,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พี่เลี้ยงโครงการ นายอิมรอน หะยีสามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817875,101.282122place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของงานทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งนับว่ายังมีความรุนแรงอยู่มากและทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมา วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ในปี2559 องค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยุติวัณโรค โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ราย ต่อแสนประชากรโลกภายในปี 2578 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีวัณโรคสูง รายงานจากองค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2020 พบว่าอุบัติการณ์วัณโรคของประเทศไทยคิดเป็นอัตรา 150 ต่อแสนประชากร อัตราการครอบคลุมการรักษาวัณโรค ร้อยละ 84 จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด 3 ปี ย้อนหลัง ในปีงบประมาณ 2564 ถึงปี 2566 พบผู้ป่วยวัณโรคปอดขึ้นทะเบียนรักษา 47 ราย อุบัติการณ์ของโรคจะพบในเพศชายมากกว่าหญิง และจะพบมากขึ้นในคนสูงวัย เนื่องจากภาวะภูมิต้านทานในร่างกายลดน้อยลง จากการประเมินผลการดำเนินงานระหว่างปี 2564 - 2566 เนื่องจากข้อจำกัดทางทรัพยากรในหลายๆด้าน เช่น ระบบการบริการของบุคลากร การติดตามผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วย และตัวผู้ป่วยเอง อีกทั้งลักษณะพื้นที่ที่มีความซับซ้อนทางสังคม และจากผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันวัณโรคประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่าจำนวนผู้ป่วย ญาติและผู้สัมผัสโรคจำนวนมากขึ้น การประชาสัมพันธ์ การได้รับการอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ ผู้ป่วยมีความตระหนักต่อโรคมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรคไม่ให้เกิดการระบาดในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง ผู้สูงอายุ ผู้เร่ร่อนไร้ที่อยู่ คนต่างด้าว ดังนั้นอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุดเล็งเห็นถึงปัญหาของโรควัณโรคจึงจัดกิจกรรมคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในกลุ่มต่างๆ และเพื่อเป็นการยับยั้งให้สามารถควบคุมวัณโรคประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน จึงจะดำเนินการจัดทำโครงการปูยุดใส่ใจ เพื่อคัดกรองวัณโรค ในปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรค (TB disease) ในกลุ่มผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค

ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองวัณโรค

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องวัณโรค เพื่อลดอัตราอุบัติการณ์ของโรค

ร้อยละ 80 มีความรู้เรื่องวัณโรคและอัตราอุบัติการณ์ของวัณโรคลดลง

0.00
3 เพื่อเพิ่มความสำเร็จของการรักษาวัณโรคหายขาด

ร้อยละ 90 อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคหายขาด(Success rate)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,580.00 0 0.00
15 ม.ค. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมลงพื้นที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์คัดกรองในผู้ที่สัมผัสวัณโรคร่วมบ้าน 0 12,100.00 -
15 ม.ค. 67 - 15 มี.ค. 67 (Pre-test) ความรู้เรื่องวัณโรค กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ (Post-test) ความรู้เรื่องวัณโรค 0 10,200.00 -
15 ม.ค. 67 - 15 มี.ค. 67 เฝ้าระวัง ติดตามผู้ที่มีผล x-ray ปอดที่ผิดปกติเข้าข่ายวัณโรคทุกๆ ๑ เดือน 0 11,280.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองวัณโรคมากกว่าร้อยละ 80

    1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นได้

    2. อัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคหายขาด (Success rate) ร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2567 00:00 น.