กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ม.1,ม.2,ม.3,ม.4,ม.5,ม.7,ม.8 ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2540-1-0002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรีรัตน์ จันทร์แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบในสตรีไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุด ระหว่างอายุ 30-50ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปีประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะพบผู้ป่วยรายใหม่ และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศ การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และการควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหาด้วยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60
ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร แต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เดิมการตรวจแป๊บสเมียร์ (Conventional Pap Smear) เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์ ความแม่นยำในการตรวจขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้อ่านสไลด์ ปัจจุบันนี้สาธารณสุขไทยได้มีการตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ เรียกว่า HPV DNA Test และ HPV Self Test การเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA ได้ จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ปีงบประมาณ 2566 โรงพยาบาลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วจำนวน 54 คน ผลการตรวจผิดปกติ 1 คน ในปี 2567 นี้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการคัดกรองจำนวน 200 คน และสตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่และด้วยตนเอง ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 1,243 คน ในปีงบประมาณ 2567 นี้ ได้กำหนดเป้าหมายจะต้องดำเนินการตรวจจำนวน 1,800 คน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงได้จัดทำโครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ได้ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย

สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ 80

20.00 5.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี

สตรีกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ มากกว่าร้อยละ 80

20.00 5.00
3 เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อ การวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็ว

สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก  มากกว่าร้อยละ 60

20.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สตรีกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับโรคมะเร็ง เต้านมและมะเร็งปากมดลูกและฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 0 19,720.00 -
รวม 0 19,720.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้มีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ 3.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ผู้ที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็ว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 00:00 น.