กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 พฤษภาคม 2567 - 20 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไฮฟะ ยีกาเดร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลถนน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey(SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดนเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ปี 2566โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนนตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดในเด็ก 6 เดือน - 1ปี จำนวน ..68...ราย พบภาวะซีดจำนวน .21..ราย คิดเป็นร้อยละ .30.88...ซึ่งเด็กดังกล่าวได้รับการรักษานัดตรวจซ้ำพบผลเลือดปกติร้อยละ 100 และ ในปีงบประมาณ 2567ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนนจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กเพื่อให้เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน-1 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและรักษาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,470.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมคัดกรองเด็ก 6 เดือน - 1 ปี เข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเรื่องภาวะซีดหรือโลหิตจางในเด็ก 6 เดือน – 1 ปี 0 11,320.00 -
??/??/???? กิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะซีดหรือโลหิตจางในเด็กกลุ่มเป้าหมาย 0 9,150.00 -
??/??/???? กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านเด็กที่มีภาวะเสี่ยง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีสมวัย ไม่มีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากภาวะซีดจนทำให้ร่างกายเจริญเติบช้า หรือหัวใจทำงานหนักทำให้เกิดหัวใจวาย 1.เด็ก 6 เดือน – 1 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะซีดหรือโลหิตจางมากกว่าร้อยละ90 2.เด็ก 6 เดือน – 1 ปี ที่มีภาวะซีดหรือโลหิตจางได้รับการรักษาทางการแพทย์มากกว่าร้อยละ100 3.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะซีดหรือโลหิตจางเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 12:16 น.