กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การจัดการความเสี่ยงในการทำงานแก่เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2540-1-0003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรียา สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกร มีความเสี่ยงจากการได้รับอันตราย จากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมี โดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น ตำบลปะลุรู ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสุไหงปาดี เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผักทั้งที่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนและเพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องได้รับความรู้เรื่องการดูแลป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ อีกทั้งนี้ทางรัฐบาลและเครือข่ายต้านภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังมีการผลักดันไม่ให้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำพวก พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เป็นต้นทางโรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงได้จัดทำโครงการ“การจัดการความเสี่ยงในการทำงานแก่เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ปี 2567” ขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน การตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อให้เกษตรกรมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการ ประกอบอาชีพ

เกษตรกรผู้ปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ

20.00 5.00
2 เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืช มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

20.00 5.00
3 เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด

เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติ ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง

20.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการ ประกอบอาชีพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืช มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเลือด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมอบรมการจัดการ ความเสี่ยงในการทำงานแก่ เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี 25,220.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรผู้ปลูกพืชได้รับการเฝ้าระวังสุขภาพจากการประกอบอาชีพ
  2. เกษตรกรผู้ปลูกพืชมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. เกษตรกรผู้ปลูกพืชที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติ ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 00:00 น.