กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.1,ม.2,ม.3,ม.4,ม.5และม.7 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ม.1,ม.2,ม.3,ม.4,ม.5และม.7 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2540-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันฑิตา อนุสุนัย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย ปัจจุบันคนไทยมีความดันโลหิตเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาหลักของการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยคือ การที่ผู้เป็นโรคไม่ได้ตระหนักว่าเป็นโรค แม้จะตระหนักก็ยังไม่เชื่อถือและไม่ได้ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่รู้ตัว เนื่องจากอาการและอาการแสดงภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่ค่อยแสดงให้รู้ หรืออาจมีอาการบ้างเล็กน้อย จึงถูกเรียกว่าภัยเงียบ จนเกิดภาวะแทรกซ้อนโรคไตและหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือพิการติดเตียง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว จึงถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขในปัจจุบัน
จังหวัดนราธิวาสมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในปี 2563, 2564, 2565และปี2566 จำนวน 72,036, 74,482, 73,176 และ75,366ราย ตามลำดับ ซึ่งมีผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีในปี 2563, 2564, 2565และ2566 เพียงร้อยละ 39.66, 38.68, 37.69 และ42.99ตามลำดับ จึงทำให้พบภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่วนสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงของอำเภอสุไหงปาดี มีจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2563, 2564, 2565 และ2566จำนวน 5,699, 6,241, 6,203 และ6,216 รายตามลำดับ พบผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ในปี 2563, 2564, 2565 และ2566ร้อยละ 47.29, 49.08, 45.51และ53.95 ตามลำดับ และประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 1,922 ราย ได้รับการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด จำนวน 1,211 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 585 ราย คิดเป็นร้อยละ 30.44 ยังพบปัญหาผู้ป่วยขาดนัด ขาดยา รับประทานยาไม่สม่ำเสมอจากมีความเชื่อต่าง ๆ เช่น ไม่รับประทานยาเนื่องจากกลัวเป็นโรคไต ไม่อยากรับประทานยา เนื่องจากอาการปกติดี จึงไม่มารับการรักษาตามนัด ส่งผลให้ขาดยา มีความเชื่อเรื่องยาสมุนไพร รวมทั้งการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมรับประทานอาหารเค็มตามบริบทของพื้นที่ ส่งผลให้อำเภอสุไหงปาดี พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจากโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ในปี 2563, 2564, 2565และ2566 พบจำนวน 45, 22, 39และ 40รายตามลำดับ
คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสุไหงปาดี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจึงได้มีการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งผู้ป่วยรายใหม่และกลุ่มผู้ป่วยที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดีการรักษาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่ดี ผู้ป่วยจึงควรได้รับความรู้เรื่องโรคความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆเช่นการเข้าค่ายเบาหวาน/ความดัน หรือกิจกรรมชมรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้นก็จะสามารถควบคุมโรคได้ดีและไม่เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวในการลดระดับความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลได้ถูกต้อง ครบถ้วน

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติตัวในการลดระดับความดันโลหิตและลดระดับน้ำตาลได้ถูกต้อง ครบถ้วน  ร้อยละ ≥ 80

20.00 5.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความพึงพอใจ

ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ ≥ 80

20.00 5.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมโรคได้ดี และผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

-  ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี  ร้อยละ ≥ 60 -  ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ  ≥ 40

20.00 5.00
4 ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

-  ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อน หลอดเลือดสมอง  ร้อยละ  ≤ 5 -  ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจ  ร้อยละ  ≤ 5 -  ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูง/เบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ  ≤ 5 -  ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาร้อยละ  ≤ 5 -  ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะแทรกซ้อนทางเท้าร้อยละ  ≤ 5

20.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,720.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรม จัดบรรยายให้ความรู้เรื่องความเสี่ยง ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค 0 20,720.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความดันที่ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ดี 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจและทางไตได้
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตาทางเท้าและทางไตได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2567 00:00 น.