กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 3อ.2ส. หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปี 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก 3อ.2ส. หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5293-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 8 บ้านควนตำเสา
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 12,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสายฝน โสสนุย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 12,950.00
รวมงบประมาณ 12,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่ประชากรในชุมชนเป็นกันอยู่และเพิ่มปริมาณอัตราป่วยขึ้นเรื่อยๆ โดยเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลทั้งในเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หวาน มันเค็ม ซึ่งในปัจจุบันอาหารจานด่วน และความเร่งด่วนในการใช้ชีวิตประจำวันจึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารซึ่งมีส่วนผสมของเกลือ น้ำตาล และน้ำมันในปริมาณที่เกินกำหนดในปริมาณการบริโภคในแต่ละวันต่อคนโดยผู้บริโภคขาดความตระหนัก แต่กลับบริโภคและขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ขาดแรงจูงใจ ไม่มีกลุ่มในการออกกำลังกายในชุมชน อีกทั้งโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย
        ผลจากการสำรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่สามารถป้องกันได้ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตหมู่ที่๘ บ้านควนตำเสา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปีงบประมาณ ๒๕๖7 ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ในการดูแลภาวะสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่๘ บ้านควนตำเสาได้ดำเนินการร่วมกันกับฝ่ายส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลทุ่งหว้า และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าในการดูแลสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 76 คน เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 94 คนและโรคอื่นๆ เช่นมีรอบเอวเกิน อ้วนลงพุง ร่วมทั้งพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงในเรื่องของการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และอารมณ์ ประชากรกลุ่มเสี่ยง  กิจกรรม เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเบาหวานและความดันโลหิตสูง อีกทั้งในรายกลุ่มที่เป็นโรคจะได้ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ รวมทั้งช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าและสามารถจัดการกับความเครียดและอารมณ์ของตนเองได้ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสาจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก๓อ.๒ส. หมู่ที่ ๘ บ้านควนตำเสา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖7 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเกิดการรับรู้และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยหลัก ๓อ.๒ส.

ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

2 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้และมีความพึงพอใจในกิจกรรมสุขศึกษาที่ได้รับ

กลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการมากกว่าร้อยละ ๘๐

3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมมีความรอบรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมมีทักษะในการออกกำลังกายและฝึกปฏิบัติจนสามารถไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้

กลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและสามารถนำความรู้และทักษะกิจกรรมออกกำลังกายไปใช้ด้วยตนเองได้

4 เพื่อสร้างกระแสในเรื่องการดูแลสุขภาพพัฒนาความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในชุมชนได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ๒. ประชากรกลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยยึดหลัก ๓อ.๒ส. ๓. มีการดำเนินงานในชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ๔. ประชากรกลุ่มกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีไม่มีภาวะ การเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2567 11:34 น.