กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดโรค ลดพุง ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2540-1-0005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสุไหงปาดี
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเองและผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ “กรรมพันธุ์” และ “สิ่งแวดล้อม”

สำหรับปัจจัยที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีทั้งปัจจัย ที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ ด้านกรรมพันธุ์ เช่น มี พ่อแม่ พี่น้องที่ป่วยเป็นโรค หรือการมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ การมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัด มันจัด เค็มจัด การไม่ออกแรงหรือออกออกกำลังกาย การมีภาวะเครียดสะสมเรื้อรัง การสูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม งานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงปาดี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลงพุงได้รับการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านสุขภาพ 3อ.2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากขึ้นและสามารถควบคุมระดับความรุนแรงของโรคเพี่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และโภชนาการอาหารที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีองค์ความรู้และโภชนาการอาหารที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพมีความรอบรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นร้อยละ 10

10.00 10.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้ถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีขึ้นร้อยละ 20

20.00 20.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนัก BMI ได้ ตามเกณฑ์

3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมน้ำหนักBMI ได้ตามเกณฑ์ดีขึ้นร้อยละ 20

20.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,920.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 1. .กิจกรรมให้ความรู้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อน ให้ความตระหนักความรุนแรงของโรค 0 17,720.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2 กิจกรรมที่ ฝึกทักษะการตรวจวัดรอบเอว ชั่งน้ำหนักคำนวณ BMI ,คำนวณแคลอรี่อาหารที่ต้องได้รับต่อวัน 0 1,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะเสี่ยงอ้วนลงพุงมีองค์ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/และโรคความดันโลหิตสูง/อ้วนลงพุง และมีความรู้ด้านโภชนาการอาหารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพในการดูแลตนเองเพิ่มมากขึ้น
    1. ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะอ้วนลงพุงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรคที่ถูกต้องเหมาะสม
    2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มี ทักษะตรวจวัด รอบเอว ชั่ง น้ำหนัก คำนวณ BMI , คำนวณแคลอรี่อาหารที่ ต้องการรายบุคคล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2567 00:00 น.