กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Herb candy ลดความอยากบุหรี่
รหัสโครงการ 67 - L8020 - 01 - 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานเเพทย์แผนไทยเเละงานจิตเวชเเละยาเสพติด โรงพยาบาลรัตภูมิ
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัศมีดาว เเซ่ลิม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 8,220.00
รวมงบประมาณ 8,220.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการ สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สบบุหรี่จำนวน12.4ล้านคนอัตราการสูบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5และผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง8 ล้านคนใน20 ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ 20.7 ให้เหลือร้อยละ 16.7 และลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสองให้เหลือร้อยละ 25

  ปัจจุบันการเลือกใช้ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกเพื่อเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ที่ได้รับความนิยมและมีการวิจัยอย่างแพร่หลาย ถึงประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ ได้แก่ สมุนไพรหญ้าดอกขาว (Cyanthillium cinereum (L.) H.Rob.) ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2555 ในกลุ่มยาพัฒนาจากสมุนไพรที่ช่วยลดความอยากบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า หากใช้สมุนไพรหญ้า ดอกขาวติดต่อกันนาน 2 เดือน สามารถช่วยทำให้เลิกสูบบุหรีได้ถึง 60% และหากใช้ร่วมกับการออกกำลังกาย จะสามารถช่วยเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้น และหลังการรักษาด้วยสมุนไพรหญ้าดอกขาวเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผู้ติด บุหรี่มีอัตราการเลิกสูบบุหรี่ได้ถึง 70% โดยเหตุผลสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ คือ ชาลิ้น กินอาหารไม่อร่อย ไม่รู้สึกอยากบุหรี่ รู้สึกเหม็นกลิ่นบุหรี่ เมื่อสูบแล้วรู้สึกอยากอาเจียน ข้อมูลฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของหญ้าดอกขาวที่มีส่วนช่วยลดความอยากบุหรี่ ได้แก่สารสำคัญที่ต้นใบ และรากของหญ้าดอกขาว คือ Sodium nitrate ทำให้ลิ้นชา ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ ยังช่วยทำให้สมรรถภาพทางกายดีขึ้นอีกด้วยเลือดจะมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ทำให้มีปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่คั่งค้างในปอดลดลงอย่างชัดเจน และที่สำคัญผลข้างเคียงของการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีนี้มีน้อยมาก (เช่น มีอาการกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย สมาธิแปรปรวน) และการศึกษาด้านความปลอดภัยของผู้ที่รับประทานหญ้าดอกขาวในรูปแบบยาลดความอยากบุหรีพบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัย แต่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยยาชนิดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้ปากแห้งและคอแห้งได้ นอกจากนั้น สมุนไพรชนิดนี้ยังมีโพแทสเซียมเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจหรือไตวายควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับประทานงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลรัตภูมิ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการHerb candy ลดความอยากบุหรี่เพื่อเป็นทางเลือกในการลดความอยากบุหรี่ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพให้ชุมชนสามารถควบคุมการบริโภคบุหรี่ได้ โดยการ การอบรมความรู้ที่จำเป็น ละการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน ที่จะช่วยเป็นทีมทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้สามารถดำเนินงานเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม กระตุ้น ให้กลุ่มเป้าหมายทราบถึงพิษภัยที่เกิดจากบุหรี่

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิษภัยที่เกิดจากบุหรี่

2 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ในรูปแบบที่ง่ายขึ้น เเละสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์ Herb candy

3 เพื่อศึกษาผลของการใช้ Herb candy

จำนวนการใช้บุหรี่ลดลงร้อยละ 20 จากเดิมก่อนการได้รับ Herb candy

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20 8,220.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมความรู้ให้ความรู้เรื่องพิษภัยที่เกิดจากบุหรี่ ,เรื่องศาสตร์การแพทย์ทางเลือกโดยการเลือกใช้สมุนไพรเพื่อเป็นตัว ช่วยในการเลิกบุหรี่ ,ให้ความรู้เรื่องการเลือกสมุนไพร การสกัดสมุนไพร และวิธีการแปรรูปสมุนไพรในลูกแบบลูกอม (โดยเจ้าหน้าที่งานแพทย์แผนไทยและงา 20 2,080.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ปฏิบัติการทำลูกอมช่วยลดความอยากบุหรี่ 0 5,640.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 นัดกลุ่มเป้าหมาย ติดตามประเมินผล 0 500.00 -

วิธีดำเนินการ

  1. เสนอโครงการ ขออนุมัติบประมาณจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกำแพงเพชร

  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ผู้เกียวข้อง/คณะทำงานและ อสม. ในชุมชนเพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ รายละเอียดกิจกรรม ในการดำเนินกิจกรรม

  4. คณะทำงานร่วมกันค้นหาคัดกรองประชาชนที่สูบบุหรี่และประชาชนในพื้นที่ที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ ในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร

  5. จัดเตรียมบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม

  6. ดำเนินกิจกรรม "Herb candy ลดความอยากบุหรี่"

  7. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่สูบบุหรี่/ประชาชนในพื้นที่ที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ มีความรู้และสามารถปฏิบัติตนดูแลสุขภาพได้

  2. การใช้จำนวนบุหรีลดลงในประชาชนที่สูบบุหรี่/ประชาชนในพื้นที่ที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่

  3. ประชาชนที่สูบบุหรี่/ประชาชนในพื้นที่ที่มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ ได้รับความรู้ด้านแพทย์แผนไทยและสามารถนำไปปรับใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 09:37 น.