กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมการฝึกและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการฝึกและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ของนักเรียนโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านแป-ระใต้
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวีรดา เตบสัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกรายงานการตกน้ำ จมน้ำจัดเป็นสาเหตุ 1 ใน 10 อันดับแรกจากการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก พบว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำถึงปีละ 135,585 คน เฉลี่ยวันละ372 คน ในประเทศไทยพบว่า เด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำมากถึงปีละ 1,415 คน หรือวันละ 4 คน จึงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทย อายุต่ำกว่า 15 ปี เมื่อเทียบกับการเสียชีวิต จากสาเหตุอื่นๆในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ และในเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2565 มีรายงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำ เฉลี่ยปีละ 1 คนเนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำ ที่เด็กสามารถลงเล่นน้ำได้ อีกทั้งในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมขังในระดับสูง หากเด็กสามารถว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้จะช่วยป้องกันการจมน้ำได้มากกว่าเด็กที่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ถึง 4 เท่าตัว โดยเด็กและผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงอันตรายของการเล่นน้ำและไม่รู้วิธีช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ เพราะการว่ายน้ำถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญยิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยทางน้ำให้กับชีวิตอีกทั้งการว่ายน้ำยังเป็นการออกกำลังกายที่สามารถใช้อวัยวะในการออกกำลังกายได้ทุกส่วนของร่างกาย
ทางโรงเรียนบ้านแป-ระใต้ ได้เห็นความสำคัญจึงได้จัดทำส่งเสริมการฝึกและเพิ่มทักษะการว่ายน้ำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ประจำปี 2567 นี้ขึ้น เพื่อให้เด็กที่ว่ายน้ำไม่เป็นให้สามารถว่ายน้ำเป็นอย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของร่างกายพร้อมไปกับการเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำซึ่งจะเกิดความปลอดภัยทั้งผู้ประสบเหตุและผู้ให้การช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนว่ายน้ำเป็นมีทักษะการว่ายน้ำที่ดี

นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะการว่ายน้ำที่ดี

0.00
2 เพื่อลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำในนักเรียน

ร้อยละ 80 ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำในนักเรียน

0.00
3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพพลานามัยนักเรียนด้วยกิจกรรมว่ายน้ำ

ร้อยละ 80 นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยนักเรียนด้วยกิจกรรมว่ายน้ำ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,950.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 66 เขียนโครงการและเสนอโครงการต่อ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล 0 0.00 -
1 - 31 ม.ค. 67 ประชุมคณะครู เพื่อวางแผนการ เตรียมงาน 0 0.00 -
1 - 31 ม.ค. 67 ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 0 0.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ 0 5,950.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมการฝึกปฏิบัติทักษะการเอา ตัวรอดและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำเบื้องต้น 0 3,000.00 -
1 มี.ค. 67 - 1 ก.พ. 67 สรุปรายงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ / รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อ คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ อบต.ท่าเรือ อ.ท่าแพ จ.สตูล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการว่ายน้ำและสามารถลอยตัวในน้ำได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการนักเรียนมีความระมัดระวังและตระหนักถึงอันตรายจากการจมน้ำ
  3. สามารถลดอัตราการจมน้ำเสียชีวิตในนักเรียนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2567 00:00 น.