กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อิ่มท้อง สมองใส โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L7258-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2567 - 13 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 177,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 102 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคนให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน แต่ปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นปัญหาระดับชาติที่เกิดจากการละเลยด้านโภชนาการของคนทั่วโลก รวมถึงคนไทยกลายเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณให้กับการบริการทางด้านสาธารณสุขเพื่อดูแลสุขภาพของคนไทย แทนที่จะใช้ไปเพื่อพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ โภชนาการจึงเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของโรงเรียน คือ เด็กบางส่วนไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญในการพัฒนาสมอง แต่ผู้ปกครองกลับไม่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับโรงเรียนในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่วนอีกปัญหาหนึ่งของเด็กก็คือภาวะทุพโภชนาการ (เด็กอ้วน-เด็กผอม) ปัญหาดังกล่าวหากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้ คือ รากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประกอบกับช่วงวัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีความต้องการอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญา เฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และ การเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
    การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและภาวะโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และสอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง บริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 กิจกรรมบริการสาธารณสุขตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ 27 มีนาคม 2557 ข้อ 3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน และ ระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ เรื่อง การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2559 ข้อ 7 (1)     ผลการดำเนินโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 170 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหาร ร้อยละ 100 นักเรียนจำนวน 127 คน มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 74.71 ซึ่งนับเป็นโครงการฯ ที่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารเช้าและภาวะทุพโภชนาการที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และนักเรียนที่ต้องอยู่ต่อในโครงการฯ จำนวน 102 คน โรงเรียนจึงดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง     โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) มีนักเรียนทั้งหมด 741 ได้ดำเนินการสำรวจนักเรียนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเพิ่มเติม ดังนั้น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นักเรียนที่มีความจำเป็นที่จะได้รับประทานอาหารเช้าตามโครงการฯ มีจำนวน 102 คน โดยมีความมุ่งหวังเพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการและครบ 5 หมู่ มีพัฒนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ และมีพัฒนาการสมวัย
  1. นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารและมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 100
2 เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ
  1. นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ  จำนวน  102 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 714 111,690.00 7 111,690.00
1 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนกุมภาพันธ์ 2567 102 29,070.00 29,070.00
1 - 5 มี.ค. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนมีนาคม2567 102 4,590.00 4,590.00
16 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนพฤษภาคม 2567 102 16,830.00 16,830.00
4 - 28 มิ.ย. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนมิถุนายน 2567 102 29,070.00 29,070.00
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนกรกฎาคม 2567 102 32,130.00 32,130.00
1 - 30 ส.ค. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนสิงหาคม 2567 102 0.00 0.00
2 - 13 ก.ย. 67 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน เดือนกันยายน 2567 102 0.00 0.00
  1. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะทุพโภชนาการเด็กนักเรียนข้อมูลปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อเขียนเสนอโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. คัดเลือกนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการการเข้าถึงอาหารเช้าและดำเนินการจัดทำอาหารเช้าให้เด็ก   3.1 คัดเลือกนักเรียนฯ โดยทำการคัดเลือกเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 102 คน
  4. ติดตามประเมินผล   - ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย   - ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปลผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริฐเติบโตสำหรับเด็ก เมื่อสิ้นสุดกิจกรรม
  5. ประชุมทีมงานเพื่อรวบรวมข้อมูลโครงการและทำการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. แจ้งข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนให้แก่ผู้ปกครอง
  7. สรุปการดำเนินกิจกรรมให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่   7.1 เอกสารรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ให้กองทุน 1 เล่ม   7.2 แผ่น CD โครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนในโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน) ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหาร มีพัฒนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 11:28 น.