กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย ร่วมใจปลูกผัก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L7258-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสุภาพอ่อนหวาน
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2568
งบประมาณ 29,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิจิตรา ทองรักษา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันคนไทยติดอันดับสองของคนที่มีภาวะโรคอ้วนที่สุดในอาเซียน เป็นผลมาจากพฤติกรรมการ บริโภคของคนไทย ซึ่งข้อมูลในปี 2564 ประเทศไทยมีคนเป็นโรคอ้วนมากถึง 26 ล้านคน หรือสัดส่วน 46.2 % ของคนทั้งประเทศ จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคของคนไทย หลังเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 คนไทยหันมาทำอาหารรับประทานเอง 57.5% แต่กลับรับประทานผักและผลไม้ลดลง 8.3 % และ 10.8% ตามลำดับ นอกจากนี้ คนไทยมีความเครียด ๓๙% นอนหลับยากมากขึ้น 16.7% มัน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 29.3% และดื่มเครื่องดื่มรสหวานเพิ่มขึ้น 18.7% รับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 18.3% อาหารกระป๋อง 15.6% ขนมกรุบกรอบ 13.6% และขนมหวานหรือลูกกวาด 6.8% พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของ การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด และอาจทำให้ ภาวะของโรครุนแรงขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรธานการบริโภคผักและผลไม้ใน 1 วัน ในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม ซึ่งเป็นสัดส่วนที่จะให้ผลดีต่อสุขภาพ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ถึง 50% ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 30% ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ 6% โรคมะเร็งทางเดินอาหาร กระเพาะ อาหาร หลอดอาหาร 1-6% และยังช่วยลดน้ำหนักตัวได้ เพราะผักให้พลังงานต่ำ และที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนได้พยายามรณรงค์ให้คนไทยหันมาบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น โดยผุดแคมเปญ "ผลักดันให้ผักนำ" ให้ทุกมื้อที่ รับประมานอาหารให้นึกถึงผักก่อนเป็นลำดับแรก เทคนิคในการรับประทาน เช่นใน 1 จานแต่ละมือแบ่งผักให้ได้สัก ครึ่งหนึ่ง หรือแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยสูตร 2-1-1 คือ ผัก 2 ส่วน ข้าว 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน ซึ่งสาเหตุที่คนไม่ รับประทานผักส่วนหนึ่งเพราะมีความกังวลในเรื่องของสารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ชุมชนสุภาพอ่อนหวาน มีพื้นที่ 150,000 ตารางเมตร หรือ 0.15 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 13 ซอย จำนวนครัวเรือน 336 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งสิ้น 992 คน ประชากรแฝง 77 ครัวเรือน 206 คน สภาพพื้นที่ชุมชนสุภาพอ่อนหวานเป็นชนชนชนทในเมืองที่มีความเจริญและมีการขยายตัวทั้งทั้งห้านศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกในครัวเรือน ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี 68.15 % ไม่ได้ออกกำลังกาย 51.11% เจ็บป่วย ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 28.53% โรคความดันโลหิตสูง 43.12 % โรคไขมันในเลือดสูง 40.37% โรคเบาหวาม 12.84 % และดัชนีมวลกาย (ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปตามเกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข) มีผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนระดับ 1 คิดเป็น 36.85 % อ้วนระดับ 2 คิดเป็น 26.76 % อ้วนดับ 3 คิดเป็น 5.63 ในปี 2565-2566 คณะกรรมการชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ อสม. และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน และรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน มีการจัดกิจกรรมลด ปริมาณขยะอินทรีย์ภายในชุมชน โดยการทำถังขยะเปียกและถังน้ำหมักชีวภาพ เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนในชุมชนชนนำน้ำ หมักไปใช้ประโยชน์ โดยครัวเรือนบริเวณชอยสภาพอ่อนหวานได้รวมกลุ่มกันกว่า 20 ครัวเรือน จัดทำ "แปลงผักขยะ บุฟเฟต์" และมีการขยายผลไปยังซอย 8 กาญจนวณิชย์ แต่ถึงอย่างไรการปลูกผักสวนครัวไมชุมชนก็ยังไม่ครอบคลุม ซึ่งพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ ยังซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคภายในครัวเรือน ดังนั้นเพื่อ ส่งเสริมขยายผลให้ครัวเรือนในชุมชนสุภาพอ่อนหวาน หันมาดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ไส้ใจการบริโภค อาหารตั้งแต่ต้นทาง ครัวเรือนมีพฤติกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง มีการรับประทานผักและผลไม้ที่ ปลอดภัยอย่างเพียงพอ คณะกรรมการชุมชมชนสุภาพอ่อนหวาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย ร่วมใจปลูกผัก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบริโภคอาหารปลอดภัยและการปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน

-ร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคอาหาร ปลอดภัยและการปลูกผักสวนครัว

2 ๒. เพื่อส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้ บริโภคในครัวเรือน
  • ร้อยละ ๘๐ ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรม การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน
3 ๓. เพื่อให้ประชาชนมีแหล่งเรียนรู้ด้านสวนผักคนเมือง
  • ชุมชนมีฐานการเรียนรู้สวนผักคนเมืองและการบริโภค อาหารปลอดภัย เพิ่มขึ้นอย่างน้อย ๑ แห่ง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 29,900.00 -29,900.00
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 1.กิจกรรมอบรมความรู้การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษสำหรับชุมชนเมือง 0 0.00 22,900.00 -22,900.00
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 2.กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริโภคอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ "นัดวันกินผัก ปลูกผัก:ปลูกใจ" 0 0.00 7,000.00 -7,000.00
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 2 29,900.00 -29,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค ประชาชนในชุชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมารบริโภคผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น และเกิดศูนย์เรียนรู้ผักคนเมือง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 16:10 น.