กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะในชุมชนตลาดใหม่ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L7258-02-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนตลาดใหม่
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่ง แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาของโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้าน วัด และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนและภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก โดยการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และชุมชนตลาดใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะในชุมชนตลาดใหม่ ปี 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจตระหนักในการป้องกันโรค
  1. ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2 2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดของประชากรในชุมชน
  1. ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประชาชนป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลง
3 3. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 13,290.00 3 8,570.00
1 มี.ค. 67 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 50 4,900.00 4,900.00
15 มี.ค. 67 2. กิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน จำนวน 1 ครั้ง 50 2,950.00 2,950.00
19 มี.ค. 67 3. กิจกรรมสำรวจ และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน 50 5,440.00 720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ประชาชนป่วยด้วยโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 16:11 น.