กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.และหญิงตั้งครรภ์ใส่ใจ เพื่อครรภ์ปลอดภัย ลูกสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5253-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำนักเอาะ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2024
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2023 - 30 กันยายน 2024
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2024
งบประมาณ 26,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤชพล ดวงยอด
พี่เลี้ยงโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ ศรีรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 94 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
24.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ุ เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด หลังคลอดที่มีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรับ เป็นปัญหาสำคัญของงานอนามัยแม่และเด็ก ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี่้ยงบุตรด้วยนมแม่ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
ภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่มีผลให้หญิงตั้งครรภ์มีภูมิต้านทานโรคลดลง ส่งผลให้มีการคลอดก่อนกำหนด และทนต่อการเสียเลือดในขณะคลอดได้น้อย และส่งผลต่อทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตช้า น้ำหนักน้อย และอาจเสียชีวิตก่อนคลอด หากคลอดมักมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ มีภาวะขาดออกซิเจน ทารกมีภาวะขาดธาตุเหล็กรุนแรงจะมีพัฒนาการทางสมองช้า ภูมิต้านทานโรคน้อย มีอัตราตายสูงซึ่งนับว่าเป็นผลเสียต่อภาวะสุขภาพของทั้งมารดาและทารก จากการสำรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงมีครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ที่ รพ.สต.สำนักเอาะ ในช่วงเดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 มีหญิงตั้งครรภ์ที่มีระดับความเข้มข้นของเลือดน้อยกว่า 33% จำนวน 18 คน จากหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 75 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 24 ซึ่งตามเกณฑ์ตัวชี้วัดงานอนามัยแม่และเด็กของกระทรวงสาธารณสุข ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ต้องน้อยกว่าร้อยละ 10
โดยในปีงบประมาณ 2567 รพ.สต.สำนักเอาะ ได้เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญประเด็นภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ที่ยังคงเป็นปัญหาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอสะบ้าย้อย จึงได้จัดทำโครงการ อสม.และหญิงตั้งครรภ์ใส่ใจ เพื่อครรภ์ปลอดภัย ลูกสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2567 เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพ อสม. และหญิงตั้งครรภ์ ในการเข้ารับการฝากครรภ์และได้รับการดูแลโดยเร็ว ทั้งยังให้ความรู้ คำแนะนำ การให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์ให้มีความตระหนักในการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ การติดตามการฝากครรภ์และการดูแลก่อนคลอดครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อลดโอกาสการเกิดความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักกว่า 2,500 กรัม อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ดูแล รวมถึงประชาชนท่วไปสามารถเข้ารับบริการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดาและเด็กหลังคลอดถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ "ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย"

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์มีคววามรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก อันตรายต่อแม่และบุตรรวมทั้งการป้องกันโดยโภชนาการ

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 94 26,160.00 0 0.00
7 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้ 94 26,160.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงมีครรภ์ในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็กพร้อมให้ความร่วมมือ
  2. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง ไม่เกินร้อยละ 10
  3. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2024 14:08 น.