กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ LIPASANGO SMART KIDS ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3071-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 33,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสมา มะดิเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมภพ สุวรรณชมภู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2567 30 ก.ย. 2567 33,750.00
รวมงบประมาณ 33,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน  สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญและส่งผลกระทบ โดยพบว่าปัญหามารดาและทารกเสียชีวิตยังมีอัตราที่สูงกว่าในพื้นที่อื่นๆ และสูงกว่าค่าเป้าหมายต่างประเทศ  ปัญหาเด็กมี IQ ต่ำ ข้อมูลการสำรวจ IQ เฉลี่ยของเด็กในจังหวัดปัตตานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 88.32 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในประเทศ ด้านโภชนาการเด็ก 0-5 ปี อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การกระจายอาหาร และความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ส่งผลให้เด็กมีความเจริญที่ไม่สมส่วน โดยพบ เด็กเตี้ยร้อยละ 17.50 เด็กผอมร้อยละ 7.16 เนื่องจากขาดสารอาหารเรื้อรัง  ปัญหาทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานีได้มีการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเด็ก 0-5 ปี คือ เด็กอายุ 18 เดือน และเด็ก 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มปราศจากโรคฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดแต่ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับระดับประเทศ (เด็ก 3 ขวบ ปราศจากฟันผุร้อยละ 50.6)  ปัญหากลุ่มโรคติดต่อในเด็กที่เกิดจากไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ เช่น ไอกรน คอตีบ เป็นต้น สาเหตุของผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังมีความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่ผิดๆ เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ฉีดวัคซีนแล้วทำให้เด็กเป็นไข้ เป็นต้น ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 75.72 ได้รับวัคซีน MMR1 1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 80.20 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 67.78 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 71.22 วัคซีน JE2 ร้อยละ 73.39 วัคซีน JE3 ร้อยละ 60.47 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 72.28 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 62.76
จากข้อมูลดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani smart kids เพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันดี ไม่มีภาวะซีด จากข้อมูลการปฏิบัติงาน 5 กิจกรรมในเด็กอายุ 0- 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปีงบประมาณ 2566 พบว่า เด็ก 0-5 ปี อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 61.36 ได้รับวัคซีน MMR1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 59.09 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 61.36 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 61.29 วัคซีน JE2 ร้อยละ 70.97 วัคซีน JE3 ร้อยละ 70.73 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 75.61 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 25.64 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนในแต่ละช่วงอายุ ด้านโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 60.68 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.92 และเด็กอายุ 3-5 ปี ยังมีฟันผุ ร้อยละ 60.54 ด้านภาวะซีดในเด็ก0-5ปี ร้อยละ 35.4 จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 กิจกรรมในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กกลุ่มเป้าหมาย Smatr kids มีสุขภาพดีรูปร่างดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย วัคซีนครบ ฟันดี ไม่มีภาวะซีด
  2. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การรับวัคซีน โภชนาการและการดูแลสุขภาพฟัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2567 15:46 น.