กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการสำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแก้ว
รหัสโครงการ 67-L8302-2-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเขาแก้ว
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤษภาคม 2567 - 16 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซายูตี ดาราโอ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
65.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ดังนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม ปัจจุบันเด็กวัยเรียนมีปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งเด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกายด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคลพฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาข้อมูลสุขภาพของนักเรียน ปีพ.ศ.2562 และบริบทสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านเขาแก้ว พบว่าโรงเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เสี่ยงของนักเรียนที่จะต้องแก้ไขอีกมาก ซึ่งเกิดจากนักเรียนยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไป การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีปัญหาโรคอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถึงจะมีจำนวนการเกิดปัญหาโรคอ้วนหรือผอมเกินไปไม่มาก แต่ถ้าหากไม่มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในโรงเรียนให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแก้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

65.00 35.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,000.00 0 0.00
20 พ.ค. 67 - 16 ส.ค. 67 กิจกรรมสนับสนุนอาหารเช้า 0 36,000.00 -
  1. สำรวจจำนวนเด็กนักเรียนทุกระดับชั้นที่มีภาวะทุพโภชนาการ และสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศ
  2. กำหนดรายละเอียดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ
  3. เสนอของบประมาณสนับสนุน เพื่อดำเนินงานตามโครงการที่วางไว้
  4. ดำเนินการให้อาหารเสริมตามหลักโภชนาการให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 5.วัดผล ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะๆ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดปัญหาภาวะพร่องทางโภชานาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขาแก้ว
  2. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเหมาะสมตามวัยเพิ่มมากขึ้น
  3. นักเรียนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2567 15:58 น.