กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเด็กและผู้ใหญ่เชิงรุกในชุมชน
รหัสโครงการ 67-L2529-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวล ทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคธรรมดากลายเป็นโรครุนแรงที่ทำให้ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไม่น้อย หรือบางโรคก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันโรคและความรุนแรงของโรคสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ซึ่งควรฉีดทั้งวัคซีนเด็กและวัคซีนผู้ใหญ่เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว โรคธรรมดาอย่างโรคหวัด ไข้หวัดกลับมีความรุนแรงมากขึ้นที่ทำให้ผู้ได้รับเชื้อมีอาการป่วยรุนแรง รักษานานขึ้น ดื้อยา หรือในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ นอกเหนือจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่แล้ว ยังมีเชื้อโรคอื่นๆ ที่รุนแรงไม่แพ้กันและเป็นโรคที่ไม่จำกัดอายุ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดเวลาหากได้รับเชื้อโรคหรือความเสี่ยงในการรับเชื้อโรค     กระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคที่สำคัญในผู้ใหญ่มากขึ้น จึงกำหนดให้นำวัคซีนชนิดต่าง ๆ มาใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ให้เริ่มใช้วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ทดแทนวัคซีนบาดทะยัก  เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ ให้นำวัคซีนไข้หวัดใหญ่มาให้บริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงจะเกิดอาการรุนแรงหากป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ รวมถึงแนะนำให้นำวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (HB) วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน (MR) และวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (VZV) มาให้บริการแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีการกำหนดนโยบายการให้วัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่าอัตราการให้วัคซีนในกลุ่มผู้ใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำอันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ เช่นประชาชนกลุ่มผู้ใหญ่ขาดความ ตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีน รวมถึงยังไม่มีรูปแบบบริการวัคซีนแก่ผู้ใหญ่ที่เป็นระบบ เป็นต้น     การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  โดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด ในการนี้จึงต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพสามารถติดตามกลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
  1. เพื่อให้เครือข่ายสุขภาพสามารถติดตามกลุ่มเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ร้อยละ 90
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ ความ เข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ ความ เข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนร้อยละ 90
3 3. เพื่อให้ประชาชนและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ ได้รับวัคซีนครอบคลุมตามเกณฑ์
  1. เพื่อให้ประชาชนและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ ได้รับวัคซีนครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนผู้ นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0-5 ปี และวัคซีนผู้ใหญ่
  2. ผู้ปกครอง มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  3. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2567 14:40 น.