กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนตำบลคอลอตันหยงร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3062-002-021
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคอลอตันหยง
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนินาดียะห์ ซาหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ในอดีตจะพบอัตราการเกิดโรค ในช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี และพบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะพันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดังนั้น การควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราการป่วย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ในการช่วยกันควบคุมป้องกันโรค อาทิ เช่น ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย คว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด ใส่ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมถึงการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด โดยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น และควรเฝ้าระวัง โดยการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก และการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคกรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องได้รับการ ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายและลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการดูแลป้องกันบุคคลภายใน ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เช่น ในสถานที่ทำงาน โรงเรียน จึงเป็นการสูญเสียทั้งสุขภาพ เงินค่ารักษาพยาบาลหรือ ค่าใช้จ่ายขณะป่วยและพักฟื้น ของผู้ป่วยเองรวมไปถึงครอบครัว หน้าที่การงาน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องสูญเสียงบประมาณ และทรัพยากรในการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ปี พ.ศ.2564 จำนวน 7 ราย, ปี พ.ศ.2565 จำนวน 4 ราย และปี พ.ศ.2566 จำนวน 5 ราย จะเห็นได้ว่าทุกปียังมีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และมีอนาคตที่จะเพิ่มมากขึ้น จากปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านตำบลคอลอตันหยงจึงได้จัดทำโครงการชุมชนตำบลคอลอตันหยงร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกประชาชนตื่นตัวตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

36.00 36.00
2 เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคไข้ดเลือดออก

ร้อยละ 100 หลังคาเรือนได้รับการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก

36.00 36.00
3 เพื่อเป็นการกระตุ้นให้แก่ประชาชน ตื่นตัวตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100เป็นการกระตุ้นให้แก่ประชาชน ตื่นตัวและตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจาก

36.00 36.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,800.00 0 0.00
14 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 0 14,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. กำจัดลูกน้ำยุงลาย และยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนตื่นตัว และตระหนักในการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 00:00 น.