กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3367-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 7 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 13,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 , 7 และ 9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกอำเภอศรีบรรพต ปี 2564 - ปี 2566 คือ 11.12 ,11.11 และ 55.30 ต่อแสนประชากรตามลำดับ
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศไทยมายาวนาน เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยชุมชน สังคม และประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ เดิมการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มอายุ ระหว่าง 15 - 24 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและพบได้ทุกฤดูกาล สำหรับสถาณการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกของจังหวัดพัทลุง จากข้อมูลของกลุ่มงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง พบว่าในปี 2565 - 2566 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือด 45.4 ต่อแสนประชากร และจากการรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออก อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง พบว่าในปี 2564 พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 11.12 ต่อแสนประชากร ในปี 2565 พบ 11.11 ต่อแสนประชากร และปี 2566 พบ 55.30 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ถึงแม้ทีม CDCU ตำบลเขาย่า จะดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่องแต่ก็ยังพบการแพร่ระบาดของประชาชนในพื้นที่อยู่ จึงจำเป็นต้องมีการติดตามที่ต่อเนื่องมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม จึงได้จัดโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง

หลังเข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกมากกว่าร้อยละ 80

80.00 80.00
2 เพื่อรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการน้อยกว่า 10

10.00 10.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบให้น้อยลง

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,700.00 0 0.00
6 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 0 3,300.00 -
13 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้การสำรวจลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธู์ลูกน้ำยุงลาย และการสาธิตการใช้เครื่องพ่นหมอกควันกรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 0 10,400.00 -
1 ก.ค. 67 - 13 ก.ย. 67 การสำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และกิจกรรม 3 เก็บ 3 โรค (เก็บน้ำ เก็บบ้าน เก็บขยะ เพื่อป้องกัน 3 โรค ) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง ร้อยละ 80
2 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567 15:53 น.